โครมบุ๊ค อาวุธชิ้นใหม่ของ Google ในการขยายอำนาจไอที

การต่อสู้ระหว่างบริษัทไอทีและคอมพิวเตอร์เพื่อแย่งชิงตลาดด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ยังคงทวีความดุเดือดอย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อ Google ได้กลายมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดของ Microsoft อีกครั้ง

MediaPad 'แท็บเล็ตตัว'แรกของบริษัท Huwei

หัวเว่ย (Huwei) ประกาศเปิดตัว MediaPad 'แท็บเล็ตตัว'แรกของทางบริษัทที่มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 7 นิ้ว และทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Android 3.2 ซึ่งการทำงานส่วนใหญ่จะไม่ต่างจาก Android 3.1 มากนัก ยกเว้นการออกแบบให้ทำงานบนแท็บเล็ตจอที่มีขนาดเล็กได้ดีกว่า MediaPad ของ Huawei จะมีหน้าจอ LCD ทำงานในระบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว สามารถเล่นวิดีโอ 1080 HD ได้อย่างลื่นไหล พร้อมพอร์ต HDMI โดยภายในใช้ซีพียูดูอัลคอร์ของ Qualcomm ความเร็ว 1.2GHz กล้องหน้า 1.3 ล้านพิกเซล และกล้องหลัง 5 ล้านพิกเซล.

Nokia และ ِApple ตกลงเรื่องสิทธิบัตร

หลังจากเป็นคดีกันอยู่ระยะเวลาหนึ่ง ในที่สุด Apple ก็ปิดการเจรจากับ Nokia แบบต่างฝ่ายต่างพอใจในข้อตกลงที่ลงตัวกัน เป็นที่เเรียบร้อยแล้ว ในวงการ ไอทีโลกไม่เฉพาะแค่สองคู่กรณีนี้เท่านั้นที่มีปัญหาในเรื่องนี้ บริษัทที่ดังๆ หลายบริษัทก็เป็นคู่ กรณีในเรื่องแบบนี้อยู่ในศาลกันมากมายเช่นกัน การฟ้องกันระหว่างบริษัทอันเนื่องมาจากบรรดาสิทธิบัตรต่างๆ ดูจะเป็นเรื่องที่ใช้ได้ผล ทั้งในแง่หารายได้ กับเอาไว้สกัดขาคู่แข่งบ้าง คดีหนึ่งที่เคยเป็นข่าวผ่านมา นั้นคือเรื่องของ Nokia ฟ้อง Apple ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์สิทธิบัตรเทคโนโลยีการสร้างโทรศัพท์

กูเกิล อินสตั้น เพจ ความรวดเร็วในการค้นหา

รายงานข่าวที่เกียวกับ Google อีกสักชิ้นนะครับ เพราะช่วงนี้ดูท่าจะเร่งเครื่องบริการอย่างเต็มที่ (ล่าสุดรุกหนัก แม้แต่ทีวีในบ้านเรายังมีโฆษณาบราวเซอร์ Chrome โผล่ให้เห็นเป็นระยะๆ) หลังจากเมื่อวานได้แนะนำการค้นหาด้วยเสียงพูด และภาพแล้ว วันนี้ Google ประกาศเปิดตัวบริการ Instant Pages อย่างเป็นทางการ ซึ่งคุณสมบัติใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเปิดเข้าหน้าเว็บจากลิงค์ผลลัพธ์ ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมได้แทบจะทันที เมื่อคืนนี้ตามเวลาในบ้านเรา Google ได้ประกาศเปิดตัวคุณสมบัติใหม่ที่เรียกว่า Instant Pages

Nook Touch ความลงตัวของการท่องเว็บบนเครื่องอ่านอีบุ๊ค

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

5.31.2554

เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS Technology)

เครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทต่างๆ (UPS Technology)
เครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อจ่ายไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในระหว่างทเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เพื่อให้ท่านมีเวลาเพียงพอที่จะสำรองข้อมูล หรือปิด (Shutdown) เครื่องเซอร์เวอร์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับไฟล์ฐานข้อมูลอันมีค่าของท่านได้ในกรณีที่เครื่องดับโดยกะทันหัน
ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) ท่านควรจะทราบโครงสร้างพื้นฐานของเครื่องยูพีเอส (UPS)เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่า เครื่องประเภทใดเหมาะสมกับการใช้งาน และงบประมาณของท่านมากที่สุด
เลือกรายการดังต่อไปนี้เพื่อศึกษาเครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) ประเภทต่างๆ

ข้อมูลทั้งหมดมาจาก  http://www.thesunpower.co.th
ข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอมานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้มิได้มีวัตถุประสงค์เพือการค้าแต่อย่างใด ทั้งนี้ smart computer เห็นว่าข้อมูลนี้ให้ความรู้เรื่อง UPS ดีมากและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค       ขอขอบคุณ  บริษัท The Sun Power ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.thesunpower.co.th
ในสภาวะปกติ (Standby mode/Normal Mode) พลังงานไฟฟ้าจะไหลผ่านตรงไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีเพียงวงจร RFI Filtering เท่านั้นที่จะช่วยกรองสัญญาณรบกวน และเมื่ออยู่ในสภาวะไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตกหรือเกินจากค่าที่กำหนด เช่น (220+/-15%) วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS จะตรวจพบและสั่งการให้วงจร DC/AC Inverter ทำงาน (Inverter Mode/Battery Mode) เพื่อแปลงไฟฟ้า (DC) จากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นไฟฟ้าสลับ (AC) เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไป *โดยรูปคลื่นไฟฟ้าสลับจากวงจรอินเวอร์เตอร์นี้ อาจจะเป็นรูปคลื่นแบบรูปสี่เหลี่ยม(Step wave) หรือเป็นรูปคลื่นแบบไซน์เวฟ (Sine wave) เช่นเดียวกันกับรูปคลื่นไฟฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นหากไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากลับมาสู่สภาวะปกติ วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS ก็จะสั่งการให้ Switch กลับมาเชื่อมต่อโดยตรงกับแหล่งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่อไป ทั้งนี้ในระหว่างการโอนย้าย Switch จะมีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ซึ่งจะเรียกว่า Transfer Time 
ข้อดี 
- ต้นทุนต่ำราคาถูก - ขนาดเล็ก เสียงเงียบเมื่ออยู่ใน Standby mode 
- ประสิทธิภาพสูง 
ข้อเสีย 
- ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ปลอดภัยจากสภาวะไฟฟ้า Spike, Surgeได้จำกัด 
- ควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้อุปกรณ์ได้จำกัด จะได้ประมาณ +/- 10~15 % 
- ไม่สามารถรับแรงดันไฟฟ้าด้านขาเข้าได้กว้าง ปกติจะได้ประมาณ +/- 10~15% 
- มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ในระหว่างโอนย้ายจากการจ่ายไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งจ่ายแบตเตอรี่ 
- ไม่มีระบบสำรองในกรณีที่ Inverter เสีย หรือ อุปกรณ์กินไฟฟ้ามากกว่าปกติในชั่วขณะ 

เครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทนี้จะคล้ายกันกับเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภท Offline (Standby) UPS โดยได้เพิ่มวงจรปรับแรงดันอัตโนมัติเข้ามา เพื่อทำให้เครื่องสำรองไฟฟ้าสามารถรับแรงดันไฟฟ้าทางด้านขาเข้าได้กว้างขึ้นประมาณ 220 +/- 20 ~ 25% ในขณะที่ยังสามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าด้านขาออกให้อยู่ได้ในระหว่าง 220 +/- 10 % นอกจากนั้นยังสามารถกรองสัญญาณไฟฟ้ารบกวนประเภท Spike, Surges, Sages ได้ดีขึ้น ด้วยวงจร Filter การทำงานของเครื่องในสภาวะปกติ (Standby Mode/Normal Mode) จะจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ โดยผ่านวงจรปรับแรงดันอัตโนมัติ (Stabilizer/AVR) และวงจรกรองสัญญาณรบกวน (RFI Filtering) และเมื่ออยู่ในสภาวะไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตกหรือเกินจากค่าที่กำหนด เช่น (220+/-20 ~ 25%) วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS จะตรวจพบและสั่งการให้วงจร DC/AC Inverter ทำงาน (Inverter Mode/Battery Mode) เพื่อแปลงไฟฟ้า (DC) จากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นไฟฟ้าสลับ (AC) เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไป *โดยรูปคลื่นไฟฟ้าสลับจากวงจรอินเวอร์เตอร์นี้ อาจจะเป็นรูปคลื่นแบบรูปสี่เหลี่ยม(Step wave) หรือเป็นรูปคลื่นแบบไซน์เวฟ (Sine wave) เช่นเดียวกันกับรูปคลื่นไฟฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นหากไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากลับมาสู่สภาวะปกติ วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS ก็จะสั่งการให้ Switch กลับมาเชื่อมต่อโดยตรงกับแหล่งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่อไป ทั้งนี้ในระหว่างการโอนย้าย Switch จะมีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ซึ่งจะเรียกว่า Transfer Time 
ข้อดี 
- ต้นทุนและราคาต่ำกว่า True Online 
- ขนาดเล็ก เสียงเงียบเมื่ออยู่ใน Standby mode 
- ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าจากปัญหาทางไฟฟ้าได้ดีกว่า Offline 
- ประสิทธิภาพสูง 
ข้อเสีย 
- ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ปลอดภัยจากสภาวะไฟฟ้าได้จำกัดเมื่อเทียบกับ True Online 
- ควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ได้จำกัด จะได้ประมาณ +/- 10 % 
- มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ในระหว่างโอนย้ายจากการจ่ายไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งจ่ายแบตเตอรี่ 
- ไม่มีระบบสำรองในกรณีที่ Inverter เสีย หรือ อุปกรณ์กินไฟฟ้ามากกว่าปกติในชั่วขณะ 
ดูตัวอย่างสินค้า 


เครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทนี้ จะสามารถปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดีที่สุด เนื่องจากในสภาวะปกติ (Normal mode) เครื่องจะแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ด้วยวงจร AC/DC rectifier) แล้วจะแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กลับมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ด้วยวงจร (DC/AC inverter) *โดยเป็นรูปคลื่นแบบไซน์เวฟ (Sine wave) เช่นเดียวกันกับรูปคลื่นไฟฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง ทำให้สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้า (220 +/- 1%) ได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหาย ในช่วงไฟฟ้าดับ (Zero transfer time) ในระหว่างการโอนย้ายการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ นอกจากนั้นสัญญาณรบกวนประเภทต่างๆ เช่น Surge, Spike, etc จะถูกกำจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากวงจร (DC/AC Inverter) จะทำงานตลอดเวลา เพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ และในเครื่องจะมีการตรวจสอบตัวเอง หากมีวงจรใดชำรุดเสียหาย หรืออุปกรณ์ไฟฟ้ากินกำลังไฟฟ้าเกินกำลัง ระบบจะโอนย้ายการจ่ายไฟฟ้าไปยังต้นทางด้วย Automatic Bypass Mode เพื่อจ่ายไฟฟ้าจากทางด้านขาเข้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยตรง 
ข้อดี 
- สามารถปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในทุกกรณี 
- มีระบบตรวจสอบตัวเอง และโอนย้ายไฟฟ้าเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าตรงให้กับอุปกรณ์ด้วย Automatic Bypass Mode ในกรณีที่เครื่องเสีย หรืออุปกรณ์ใช้กำลังไฟฟ้าเกินพิกัดที่กำหนด 
- รูปคลื่นไฟฟ้าจะไม่ขาดหายไปในระหว่างเกิดไฟฟ้าดับ (Zero Transfer time DC to AC) 
- สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม (220 +/- 1%) 
ข้อเสีย 
- ราคาสูงเมื่อเทียบกับเครื่องประเภทอื่นๆ 
ดูตัวอย่างสินค้า 

เทคโนโลยี N+X Parallel Redundancy นี้ เป็นคุณสมบัติเพิ่มเติม สำหรับเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภท True Online Double Conversion เพื่อให้การปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สุดยอด และสมบูรณ์แบบมากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากผู้ใช้สามารถนำเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทนี้ มาต่อขนานกันเพิ่มเติม เพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการดังต่อไปนี้
1.เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าของเครื่องสำรองไฟฟ้า เช่น ให้เป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า จากของเดิม เป็นต้น
2.เพื่อให้มีระบบทดแทนเครื่องเสียแบบทันทีทันใด แบบ N+X เช่น 2+1 เป็นต้น
เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้า
ท่านสามารถนำเครื่องสำรองไฟฟ้าที่รองรับเทคโนโลยี N+X Parallel Redundancy มาต่อขนานกัน ทั้งทางด้าน ไฟฟ้าขาเข้า และทางด้านไฟฟ้าขาออก เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าให้เป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า ตามเครื่องที่นำมาต่อขนานเพิ่ม เช่น นำเครื่องขนาด 6kVA สองเครื่องมาต่อขนานกันเพื่อให้ได้ขนาดพิกัด 12kVA (6kVA + 6kVA = 12 kVA) หรือ นำเครื่องขนาด 20kVA สามเครื่องมาต่อขนานกันเพื่อให้ได้ขนาดพิกัด 60kVA (20kVA+20kVA+20kVA=60kVA) เป็นต้น โดยเครื่องสำรองไฟฟ้าทั้งหมดที่นำมาต่อขนานกันนั้น จะแบ่งเบาภาระในการจ่ายกำลังไฟฟ้าของแต่ละเครื่อง ด้วยการเฉลี่ยการจ่ายกำลัง ไฟฟ้าให้จ่ายเท่าๆกันในแต่ละเครื่อง โดยตัวควบคุม (CPU Controller) ในแต่ละเครื่องจะถูกเชื่อมต่อเข้าหากัน โดยผ่านสายเคเบิล เพื่อให้ตัวควบคุมในแต่ละเครื่องทำงานประสานกัน (Hot Synch)เสมือนหนึ่งเครื่องเดียวกัน 
เพื่อให้มีระบบทดแทนเครื่องเสียแบบทันทีทันใด
ท่านสามารถนำเครื่องสำรองไฟฟ้าที่รองรับเทคโนโลยี N+X Parallel Redundacy มาต่อขนานกันโดย N เท่ากับปริมาณเครื่องสำรองไฟฟ้า ที่น้อยที่สุดที่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ เช่นอุปกรณ์ไฟฟ้ามีความต้องการกำลังไฟฟ้าเท่ากับ 12kVA ท่านก็ใช้เครื่อง สำรองไฟฟ้าขนาด 6kVA จำนวน 2 เครื่องมาต่อขนานกัน N=2 และใช้เครื่องสำรองไฟฟ้าเพิ่มอีกหนึ่งเครื่อง X=1 มาต่อขนานเพิ่มเข้าไป เพื่อให้ เครื่องแต่ละเครื่องจ่ายพลังงานที่ขนาด 4kVA เท่ากัน 4x3=12kVA ดังนั้นหากมีเครื่องสำรองไฟฟ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งชำรุดเสียหายขึ้นมา เครื่อง สำรองไฟฟ้าที่เหลืออีก 2 เครื่องก็ยังสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน โดยท่านสามารถนำเครื่องสำรอง ไฟฟ้าเครื่องที่ชำรุดนั้น ออกจากระบบเพื่อนำไปซ่อมแซมได้ทันที โดยไม่กระทบต่อการจ่ายกำลังไฟฟ้าแต่อย่างใด ทั้งนี้เครื่องสำรองไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่องที่เหลืออยู่ ก็จะช่วยกันจ่ายกำลังไฟฟ้าเครื่องละ 6kVA เพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้า 6x2=12kVA เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เช่นเดิม เครื่องสำรองไฟฟ้าที่ถูกนำมาต่อขนานกัน ก็จะยังคงคุณสมบัติอื่นๆ ของเครื่องสำรองไฟฟ้าแบบ True Online Double Conversion ไว้อย่างครบถ้วน เช่น Automatic Bypass, Manual Bypass, Zero transfer time, etc. โดยเสมือนเป็นเครื่องสำรองไฟฟ้า แบบ True Online Double Conversion เครื่องเดียว 
ข้อดี 
- เป็นระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่องที่มีเสถียรภาพสูงที่สุดในขณะนี้ 
- สามารถปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในทุกกรณี 
- มีระบบตรวจสอบตัวเอง และโอนย้ายไฟฟ้าเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าตรงให้กับอุปกรณ์ในกรณีที่เครื่องเสีย หรือ  อุปกรณ์ใช้กำลังไฟฟ้าเกินพิกัดที่กำหนด 
- รูปคลื่นทางไฟฟ้าจะไม่ขาดหายไปในระหว่างเกิดไฟฟ้าดับ (Zero Transfer time DC to AC) 
- สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม (220 +/- 1%) 
- สามารถเพิ่มขนาดกำลังไฟฟ้าเพื่อรองรับกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต 
- เป็นระบบแบบโมดูลล่า (Modular)โดยสามารถเพิ่มหรือลด เพื่อนำเครื่องสำรองไฟฟ้าออกจากระบบได้ทันที เพื่อการขยายกำลัง หรือซ่อมบำรุง โดยไม่กระทบต่อการจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง 
ข้อเสีย 
- ราคาสูงเมื่อเทียบกับเครื่องประเภทอื่นๆ 
ดูตัวอย่างสินค้า 

เครื่องสำรองไฟฟ้าในแบบ Line Interactive จะมีอยู่ 2 ประเภทที่มีเทคนิคที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือเครื่องสำรองไฟฟ้าที่ในระหว่างไฟฟ้าดับ วงจร DC/AC Inverter จะจ่ายสัญญาณไฟฟ้าขาออกแบบ Step wave หรือบางครั้งจะเรียกว่า Modified Sine wave หรือ Simulated Sine Wave *ซึ่งต่อไปจะใช้คำว่า "Step Wave" สำหรับอ้างอิง Step Wave UPS คือ เครื่องสำรองไฟฟ้าจะจ่ายรูปคลื่นไฟฟ้าขาออกที่ลักษณะเป็นรูปคลื่นแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งไม่ใช้่รูปคลื่นแบบ Sine Wave ซึ่งเป็นรูปคลื่นไฟฟ้าตามปกติ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต *แสดงตามรูปด้านล่าง เครื่องสำรองไฟฟ้าแบบ Step Wave จะเป็นเครื่องที่มีราคาต่ำสุดในท้องตลาด เมื่อเทียบกับ เครื่องสำรองไฟฟ้าแบบ Pure Sine Wave ดังนั้นท่านควรทราบถึงข้อจำกัดของ Step wave เมื่อเทียบกับ Pure Sine wave ว่าเป็นอย่างไร ประเด็นที่สำคัญและชัดเจนที่สุดก็จะเป็นเรื่องที่ Step wave ไม่สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีวงจรภายในแบบ PFC ได้ กล่าวคือในระหว่างไฟฟ้าดับ เครื่องสำรองไฟฟ้าจะจ่ายรูปคลื่นไฟฟ้า แบบ Step Wave ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีวงจรปรับค่า Power Factor Correction (PFC) ซึ่งจะทำให้วงจร PFC พยายามปรับค่ามุมองศาของการกินกระแสไฟฟ้าให้สอดคล้องกับค่ามุมองศาของแรงดันไฟฟ้า ซึ่งในกรณีนี้เป็นสัญญาณแบบ Step Wave ซึ่งจะทำให้เกิดการกินกระแสไฟฟ้าสูงมากเช่นเดียวกับกระแสลัดวงจร จนทำให้เครื่องสำรองไฟฟ้าปิดตัวเองทันที เนื่องจาก Fault 
โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องในระดับบน (Hi end) รุ่นใหม่ๆ และเครื่องในระดับเซอร์เวอร์ (Server) จะมีวงจร PFC เพิ่มเข้ามา ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการลด Pollution ทางไฟฟ้า แต่สำหรับเครื่องสำรองไฟฟ้าที่จ่ายสัญญาณไฟฟ้าแบบ Pure Sine wave จะไม่มีปัญหาการใช้งานใดๆ กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท



เป็นวงจรปรับปรุงลักษณะการบริโภคกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีค่า PF. ต่ำกว่า 1 (เช่น PF = 0.6) ให้มีค่าใกล้เคียง 1 (เช่น PF =0.98) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของสายส่งไฟฟ้าให้ดีขึ้น ลดส่วนสูญเสีย (loss) ในระบบสายส่งไฟฟ้าลง โดยการเพิ่มวงจรปรับมุมองศาของการกินกระแสไฟฟ้า ให้เป็นมุมองศาเดียวกันกับรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้า เพื่อลดค่า VAR ลง แสดงดังรูป

 นอกเหนือจากเครื่องสำรองไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ลดความเสี่ยง การเกิดความเสียหายของข้อมูลคอมพิวเตอร์จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ยังมีอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้างนัก ที่สามารถลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์พลังงานไฟฟ้าดับได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับองค์กรที่มีระบบไฟฟ้าจาก 2 แหล่งไฟฟ้า เช่น ภายในอาคารที่มีระบบไฟฟ้าจากหม้อแปลงไฟฟ้า 2 เครื่อง หรืออาคารที่มีการใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า 2 เครื่อง สำหรับการใช้งานสำรองระหว่างกัน (Hot Standby) เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลด หรืออาคารที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Electrical Generator Machine) ซึ่งในกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น ท่านจะต้องมีอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติในการตรวจสอบสถานะของแหล่งไฟฟ้าทั้งสองแหล่ง และความสามารถในการโอนย้ายการจ่ายไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหนึ่งไปสู่อีกแหล่งไฟฟ้าหนึ่ง ได้โดยอัตโนมัติแบบทันทีทันใด ไม่ขาดตอน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเราจะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า Source Transfer Switch หรือ STS หรือบางรายอาจเรียกว่า Automatic Transfer Switch (ATS) หรือ Static Transfer Switch (STS)
อุปกรณ์ STS จะมีหน้าที่ในการถ่ายโอนแหล่งพลังงานไฟฟ้าให้โดยอัตโนมัติ โดยเมื่อเกิดไฟฟ้าดับที่แหล่งพลังงานไฟฟ้าหลัก STS จะทำการโอนย้ายการจ่ายไฟฟ้าไปเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าสำรองให้ทันทีทันใดอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้ากับโหลดไฟฟ้า และจะทำการโอนย้ายแหล่งพลังงานไฟฟ้ากลับมาที่แหล่งพลังงานไฟฟ้าหลัก เมื่อแหล่งพลังงานไฟฟ้าหลักอยู่ในสภาพพร้อมจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลด ดูรูปแสดงการใช้งานด้านล่างประกอบ 
ดูตัวอย่างสินค้า 

ระบบควบคุมและบริหารจัดการเครื่องสำรองไฟฟ้า เป็นระบบที่จะช่วยในท่านสามารถกำหนดรูปแบบ การทำงานแบบอัตโนมัติในระหว่างเกิดเหตุการณ์ทางไฟฟ้าในลักษณะต่าง เช่น
-ในขณะไฟฟ้าดับ ให้ทำการแจ้งเตือนให้ทราบ ผ่านทาง email หรือ SMS
-ในขณะจ่ายไฟฟ้าสำรองจนแบตเตอรี่ใกล้หมด ให้ทำการบันทึกข้อมูล และ Shutdown โปรแกรมโดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ผู้ดูแลระบบทราบ
-ในขณะไฟฟ้ากลับเข้าสู่สภาวะปกติ ให้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด
นอกจากนั้นท่านยังสามารถตรวจสอบสภาพทางไฟฟ้าทั้งหมดในขณะนั้นของเครื่องสำรองไฟฟ้า ได้จากระยะไกล (Remote) หรือสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้จากข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบ และยังสามารถสั่งการให้เครื่องสำรองไฟฟ้าทำการ ทดสอบตัวเอง (Self Test), ปิดการจ่ายไฟฟ้า, ฯลฯ ได้อีกต่างหาก
ระบบจัดการและควบคุมเครื่องสำรองไฟฟ้า เช่น โปรแกรม WinPower รองรับการติดตั้งบนระบบปฏิบัติการทุกประเภท เช่น Windows, Linux, AIX, SUN, etc. และรองรับการติดตั้งในทุกรูปแบบ เช่น แบบเครื่องต่อเครื่อง (Stand Alone) แบบผ่านระบบเครือข่ายภายใน (LAN) ในรูปแบบ Client-Server หรือแบบผ่านระบบเครื่อข่ายภายนอก (WAN, INTERNET) 
ดูตัวอย่างสินค้า 

5.25.2554

10 บริษัทแท็บเล็ต และ อินเทลชิปเซ็ต


อินเทลจะกระโจนเข้าสู่ตลาด แท็บเล็ตแบบเต็มตัวในหน้าร้อนนี้ ด้วยChip set ตัวใหม่บนนวัตกรรมโปรเซสเซอร์Atom(อตอม)แต่ คำถามมีอยู่ว่าอินเทลสามารถที่จะส่งโปรเซสเซอร์ทันกับความต้องการของตลาดได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อที่จะช่วยให้เกิดความอยู่รอดในตลาด ที่ I pad ครองอยู่ทั่วโลก

อินเทล กำลังเคลื่อนพลเข้าสู่ธุรกิจแท็บเล็ตแบบเต็มตัวในขณะที่เลื่อนโครงการเปิดตัว smart phone ไปในปี 2012 แทน  อย่างน้อยมี 10 บริษัทแท็บเล็ตที่จะใช้ชิปอินเทล ที่จะเปิดตัวในงาน ธพฟกำ computer Show ปลายเดือนนี้ในประเทศไต้หวัน: รายงานจาก The Wall Street Journal
อินเทลจะผลิตชิปเซ็ตชื่อว่า Oak Trail บนฐานของ Atom สำหรับใช้ในเครื่องแท็บเล็ต และได้ประกาศแผนที่จะผลิต โปรอเซสเซอร์ตอมขนาด 14 นาโน ในปี 2014อีกด้ว
ในขณะเดียกันทางบริษัทอินเทลได้จัดการพบปะกับนักลงทุนในวันอังคารที่ผ่านมาเพื่อ ที่จะรายงานถึงความล่าช้าของการเปิดตัวของชิบ smart phone ในปี 2012 ที่จะถึงนี้ ทางบริษัทอินเทลได้เริ่มทำงานกับโครงการชิป smart phone ตั้งแต่ปี 2009 จนถึงเดี่ยวนี้ก็ยังไม่แล้วเสร็จ


Credit:

5.23.2554

Bill Gates & Skype


Bill Gates เปิดใจ 'ผมเป็นคนสนับสนุนให้ไมโครซอฟท์เข้าซื้อกิจการ Skype'
หลังจากที่มีกระแสข่าวว่าไมโครซอฟท์เข้าซื้อกิจการ Skype ด้วยเงินทุนกว่า 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเริ่มดูเหมือนว่า Bill Gates จะมีอาการเสียดายเงินสำหรับการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เสียแล้วนั้น ล่าสุด หัวเรือใหญ่แห่งไมโครซอฟท์ได้ออกมาเปิดใจผ่านสำนักข่าวบีบีซีแล้วว่า เขาเองที่เป็นผู้ส่งเสริมให้บริษัทเข้าซื้อกิจการ Skype ซึ่งก็อาจจะเป็นเรื่องที่รู้สึกช็อคสำหรับใครที่คิดว่า Ballmer เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้
Bill Gates อธิบายว่า เขาเป็นผู้เสนอที่มีความแข็งแกร่งในคณะกรรมการในการจัดทำข้อตกลง ซึ่งเขาคิดว่ามันเป็นข้อตกลงที่ยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับ Skype และเป็นข้อตกลงที่ยอดเยี่ยมสำหรับไมโครซอฟท์ด้วยเช่นกัน โดยไอเดียของวิดีโอคอนเฟอเรนต์จะมีความเป็นไปได้ดีมากกว่าในวันนี้ และอีกส่วนหนึ่งก็คือ มันเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมสำหรับ Skype ในเรื่องของรายได้ มันจึงมีเสน่ห์ดึงดูดให้เราเข้าไปสัมผัสไอเดียชั้นเยี่ยมที่ไม่ได้มาจากการวิจัยของไมโครซอฟท์ ซึ่งหลังจากนี้ไปมันจะมาพร้อมกันกับ Skype เราจะทำมัน สำหรับ Skype ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ที่ติดต่อถึงกันถึง 170 ล้านคนทั่วโลก และมีการใช้งานเกินกว่า 207 พันล้านนาทีเมื่อปีที่ผ่านมา เทียบกับไมโครซอฟท์ที่มีโปรแกรมการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์อย่าง Lync, Outlook, Messenger, Hotmail และXbox Live Skype จึงดูเป็นธุรกิจที่เล็กลงถนัดตา แต่การเปลี่ยนแปลงของ Skype จะได้รับการสนับสนุนจากทุกอุปกรณ์ของไมโครซอฟท์ทั้ง Xbox และ Kinect, Windows Phone และไมโครซอฟท์ก็จะเชื่อมต่อผู้ใช้ Skype เข้ากับ Lync, Outlook, Xbox Live และการสื่อสารอื่นๆด้วย ซึ่งสำหรับผู้ที่กังวลใจไปว่าจะไม่สามารถใช้งาน Skype บนแพลตฟอร์มไมโครซอฟท์ได้นั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่า ไม่เพียงแต่จะสนับสนุน Skype เท่านั้น แต่พวกเขาจะยังลงทุนเพิ่มขึ้นอีกด้วย


Credit: Pantip.com

5.21.2554

เมื่อ Mac ไม่ค่อยปลอดภัย!



แอปเปิ้ลชูจุดขายเครื่อง Mac และ ระบบปฏิบัติการ ios ว่าปลอดภัยไร้ไวรัสมาช้านาน แต่แล้วเมื่อความนิยมเพิ่มสูงขึ้น ก็ตกเป็นเป้าหมายในการเข้าโจมตีของแฮกเกอร์มากตามไปด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่า ไม่มีอะไรปลอดภัยอย่างแท้จริงบนโลกที่สื่อสารด้วยภาษา C   ไม่เว้นกระทั่ง “Linux”  หรือขาประจำที่เพาะบ่มเมล็ดพันธ์แฮกเกอร์มาช้านานอย่าง “Windows” เพียงแค่ตลาดผู้ใช้ใหญ่ คุ้มค่า ต่อการโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเท่านั้น คือ ตัวแปรหลักของการระบาดไวรัสคอมพิวเตอร์

“ชุดสร้างมัลแวร์” (Weyland-Yutani BOT)

เมื่อสัปดาห์ก่อน มีรายงานจาก “ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย” (CSIS Security Group) ได้ออกมาเตือนภัยถึงการเริ่ม กระบวนการคุกคามจากบรรดาแฮกเกอร์ต่อเครื่องแมค ว่ามีการจำหน่าย “ชุดสร้างมัลแวร์” (Weyland-Yutani BOT) สำหรับเครื่องแมคขึ้นแล้ว โดยสามารถปรับแต่งมัลแวร์ เพื่อเข้าโจมตีเครื่องแมคได้หลายหนทาง โดยเฉพาะการเจาะเข้าทาง Browser อย่าง Firefox  ที่ได้รับความนิยม ก่อนจะเพิ่มการสนับสนุนใน Chrome และ Safari  นอกจากนั้นยังจะออกเวอร์ชั่นสำหรับ iPad และลินุกซ์  แบบ Coming soon กันเลย!!

หน้าตามัลแวร์ “Mac Defender” ที่มาในรูป”Apple Security”


หน้าต่างหลอกลวงโชว์การป้องกันไวรัสของ “Mac Defender”


อย่า คลิ๊ก “Continue” นะจ๊ะ!!

ซึ่งสัปดาห์นี้ รายงานจาก ZDNet โดย  “Ed Bott” ก็ได้รับการติดต่อจากพนักงาน Apple care แจ้งว่าได้รับโทรศัพท์จากผู้ใ้ช้เยอะเป็นเท่าตัว จากปัญหาเดียวกัน คือติดไวรัสมัลแวร์ นาม  “Mac Defender” หรือ “Apple Security” ที่ลวงให้ผู้ใช้กรอกรหัสผ่าน admin เพื่อติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ ซึ่งหลังจากผู้ใช้หลงกลแล้วจะแสดงอาการด้วยภาพไม่เหมาะสม ก่อนจะให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิต



และทางแอเปิ้ลเองไม่มีนโยบายแก้ปัญหามัลแวร์ดังกล่าวให้ผู้ใช้ รวมถึงห้ามพนักงานยอมรับว่ามัลแวร์นี้ถูกติดตั้งลงในเครื่องจริง พร้อมกันนั้นได้แนะทางออกเดียวให้ลูกค้าคือ “ซื้อซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสจาก Mac App Store” หรือ Apple Online Store มาติดตั้งกันเอง

การป้องกัน เปิด Browser Safari ขึ้น ตั้งค่า Preferences ในเมนู  General
ไม่ต้องติ๊ก “Open ‘safe’ files after downloading” ออก

อย่างไรก็ดีแม้ทาง TUAW ได้ให้คำแนะนำการกำจัด Mac Defender พร้อมภาพประกอบที่สามารถทำได้เอง อีกทั้งแนะนำฟรีแวร์ป้องกันไวรัส คือ Sophos for Mac Home Edition หรือ ClamXav 2 ไว้ประจำเครื่อง


ฆ่าโพรเซสของ Mac Defender


เอา Mac Defender ออกจาก Startup/Login Items


ลบไฟล์ของ Mac Defender ออกจากระบบ

ผู้ประสงค์ร้ายในระบบบเนตเวิร์คนั้น  มักเลือกเป้าหมายในการโจมตีที่สามารถกระจายวงกว้าง คุ้มค่ากับการลงแรงเขียนไวรัส และจากความแรงของโปรดักส์แอปเปิ้ล ที่เพิ่มขึ้นทุกวันๆ กลิ่นของอุปกรณ์ Mac ตระกูล  “i” จึงเย้ายวลเหล่าแฮกเกอร์ให้เข้าไปลิ้มลองอย่างยิ่ง  ฉะนั้นการชูจุดขายปลอดไวรัส คงไม่อาจเอามาการันตีระบบได้อีกต่อไป แต่ที่สำคัญ เมื่อผู้สร้า้งรู้ถึงภัยคุกคามที่ว่า แต่กลับให้การช่วยเหลือผู้ใช้ ที่  “ไม่รู้” อย่างครึ่งๆ กลางๆ รวมทั้งบิดเบือนข้อเท็จจริงต่อผู้ใช้นั้น คือ วิถีทางที่แบรนด์ผู้กุมใจลูกค้าอย่าง “แอปเปิ้ล” เลือกเดินหรือ????

Thank Source — Blognone


Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More