เครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทต่างๆ (UPS Technology) |
เครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อจ่ายไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในระหว่างทเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ เพื่อให้ท่านมีเวลาเพียงพอที่จะสำรองข้อมูล หรือปิด (Shutdown) เครื่องเซอร์เวอร์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับไฟล์ฐานข้อมูลอันมีค่าของท่านได้ในกรณีที่เครื่องดับโดยกะทันหัน ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) ท่านควรจะทราบโครงสร้างพื้นฐานของเครื่องยูพีเอส (UPS)เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่า เครื่องประเภทใดเหมาะสมกับการใช้งาน และงบประมาณของท่านมากที่สุด เลือกรายการดังต่อไปนี้เพื่อศึกษาเครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) ประเภทต่างๆ Offline (Standby) UPS Technology Line Interactive UPS Technology True Online Double Conversion UPS Technology N+X Parallel Redundancy UPS Technology Step Wave(Modify Sine Wave,Simulated Sine Wave) VS Pure Sine Wave Power Factor Correction (PFC) Source Transfer Switch (STS) ระบบจัดการและควบคุมเครื่องสำรองไฟฟ้า ข้อมูลทั้งหมดมาจาก http://www.thesunpower.co.th ข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอมานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้มิได้มีวัตถุประสงค์เพือการค้าแต่อย่างใด ทั้งนี้ smart computer เห็นว่าข้อมูลนี้ให้ความรู้เรื่อง UPS ดีมากและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ขอขอบคุณ บริษัท The Sun Power ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thesunpower.co.th ในสภาวะปกติ (Standby mode/Normal Mode) พลังงานไฟฟ้าจะไหลผ่านตรงไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีเพียงวงจร RFI Filtering เท่านั้นที่จะช่วยกรองสัญญาณรบกวน และเมื่ออยู่ในสภาวะไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตกหรือเกินจากค่าที่กำหนด เช่น (220+/-15%) วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS จะตรวจพบและสั่งการให้วงจร DC/AC Inverter ทำงาน (Inverter Mode/Battery Mode) เพื่อแปลงไฟฟ้า (DC) จากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นไฟฟ้าสลับ (AC) เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไป *โดยรูปคลื่นไฟฟ้าสลับจากวงจรอินเวอร์เตอร์นี้ อาจจะเป็นรูปคลื่นแบบรูปสี่เหลี่ยม(Step wave) หรือเป็นรูปคลื่นแบบไซน์เวฟ (Sine wave) เช่นเดียวกันกับรูปคลื่นไฟฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นหากไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากลับมาสู่สภาวะปกติ วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS ก็จะสั่งการให้ Switch กลับมาเชื่อมต่อโดยตรงกับแหล่งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่อไป ทั้งนี้ในระหว่างการโอนย้าย Switch จะมีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ซึ่งจะเรียกว่า Transfer Time ข้อดี - ต้นทุนต่ำราคาถูก - ขนาดเล็ก เสียงเงียบเมื่ออยู่ใน Standby mode - ประสิทธิภาพสูง ข้อเสีย - ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ปลอดภัยจากสภาวะไฟฟ้า Spike, Surgeได้จำกัด - ควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้อุปกรณ์ได้จำกัด จะได้ประมาณ +/- 10~15 % - ไม่สามารถรับแรงดันไฟฟ้าด้านขาเข้าได้กว้าง ปกติจะได้ประมาณ +/- 10~15% - มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ในระหว่างโอนย้ายจากการจ่ายไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งจ่ายแบตเตอรี่ - ไม่มีระบบสำรองในกรณีที่ Inverter เสีย หรือ อุปกรณ์กินไฟฟ้ามากกว่าปกติในชั่วขณะ เครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทนี้จะคล้ายกันกับเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภท Offline (Standby) UPS โดยได้เพิ่มวงจรปรับแรงดันอัตโนมัติเข้ามา เพื่อทำให้เครื่องสำรองไฟฟ้าสามารถรับแรงดันไฟฟ้าทางด้านขาเข้าได้กว้างขึ้นประมาณ 220 +/- 20 ~ 25% ในขณะที่ยังสามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าด้านขาออกให้อยู่ได้ในระหว่าง 220 +/- 10 % นอกจากนั้นยังสามารถกรองสัญญาณไฟฟ้ารบกวนประเภท Spike, Surges, Sages ได้ดีขึ้น ด้วยวงจร Filter การทำงานของเครื่องในสภาวะปกติ (Standby Mode/Normal Mode) จะจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ โดยผ่านวงจรปรับแรงดันอัตโนมัติ (Stabilizer/AVR) และวงจรกรองสัญญาณรบกวน (RFI Filtering) และเมื่ออยู่ในสภาวะไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตกหรือเกินจากค่าที่กำหนด เช่น (220+/-20 ~ 25%) วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS จะตรวจพบและสั่งการให้วงจร DC/AC Inverter ทำงาน (Inverter Mode/Battery Mode) เพื่อแปลงไฟฟ้า (DC) จากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นไฟฟ้าสลับ (AC) เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไป *โดยรูปคลื่นไฟฟ้าสลับจากวงจรอินเวอร์เตอร์นี้ อาจจะเป็นรูปคลื่นแบบรูปสี่เหลี่ยม(Step wave) หรือเป็นรูปคลื่นแบบไซน์เวฟ (Sine wave) เช่นเดียวกันกับรูปคลื่นไฟฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นหากไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากลับมาสู่สภาวะปกติ วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS ก็จะสั่งการให้ Switch กลับมาเชื่อมต่อโดยตรงกับแหล่งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่อไป ทั้งนี้ในระหว่างการโอนย้าย Switch จะมีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ซึ่งจะเรียกว่า Transfer Time ข้อดี - ต้นทุนและราคาต่ำกว่า True Online - ขนาดเล็ก เสียงเงียบเมื่ออยู่ใน Standby mode - ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าจากปัญหาทางไฟฟ้าได้ดีกว่า Offline - ประสิทธิภาพสูง ข้อเสีย - ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ปลอดภัยจากสภาวะไฟฟ้าได้จำกัดเมื่อเทียบกับ True Online - ควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ได้จำกัด จะได้ประมาณ +/- 10 % - มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ในระหว่างโอนย้ายจากการจ่ายไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งจ่ายแบตเตอรี่ - ไม่มีระบบสำรองในกรณีที่ Inverter เสีย หรือ อุปกรณ์กินไฟฟ้ามากกว่าปกติในชั่วขณะ ดูตัวอย่างสินค้า เครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทนี้ จะสามารถปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดีที่สุด เนื่องจากในสภาวะปกติ (Normal mode) เครื่องจะแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ด้วยวงจร AC/DC rectifier) แล้วจะแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กลับมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ด้วยวงจร (DC/AC inverter) *โดยเป็นรูปคลื่นแบบไซน์เวฟ (Sine wave) เช่นเดียวกันกับรูปคลื่นไฟฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง ทำให้สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้า (220 +/- 1%) ได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหาย ในช่วงไฟฟ้าดับ (Zero transfer time) ในระหว่างการโอนย้ายการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ นอกจากนั้นสัญญาณรบกวนประเภทต่างๆ เช่น Surge, Spike, etc จะถูกกำจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากวงจร (DC/AC Inverter) จะทำงานตลอดเวลา เพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ และในเครื่องจะมีการตรวจสอบตัวเอง หากมีวงจรใดชำรุดเสียหาย หรืออุปกรณ์ไฟฟ้ากินกำลังไฟฟ้าเกินกำลัง ระบบจะโอนย้ายการจ่ายไฟฟ้าไปยังต้นทางด้วย Automatic Bypass Mode เพื่อจ่ายไฟฟ้าจากทางด้านขาเข้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยตรง ข้อดี - สามารถปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในทุกกรณี - มีระบบตรวจสอบตัวเอง และโอนย้ายไฟฟ้าเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าตรงให้กับอุปกรณ์ด้วย Automatic Bypass Mode ในกรณีที่เครื่องเสีย หรืออุปกรณ์ใช้กำลังไฟฟ้าเกินพิกัดที่กำหนด - รูปคลื่นไฟฟ้าจะไม่ขาดหายไปในระหว่างเกิดไฟฟ้าดับ (Zero Transfer time DC to AC) - สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม (220 +/- 1%) ข้อเสีย - ราคาสูงเมื่อเทียบกับเครื่องประเภทอื่นๆ ดูตัวอย่างสินค้า เทคโนโลยี N+X Parallel Redundancy นี้ เป็นคุณสมบัติเพิ่มเติม สำหรับเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภท True Online Double Conversion เพื่อให้การปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สุดยอด และสมบูรณ์แบบมากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากผู้ใช้สามารถนำเครื่องสำรองไฟฟ้าประเภทนี้ มาต่อขนานกันเพิ่มเติม เพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการดังต่อไปนี้ 1.เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าของเครื่องสำรองไฟฟ้า เช่น ให้เป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า จากของเดิม เป็นต้น 2.เพื่อให้มีระบบทดแทนเครื่องเสียแบบทันทีทันใด แบบ N+X เช่น 2+1 เป็นต้น เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้า ท่านสามารถนำเครื่องสำรองไฟฟ้าที่รองรับเทคโนโลยี N+X Parallel Redundancy มาต่อขนานกัน ทั้งทางด้าน ไฟฟ้าขาเข้า และทางด้านไฟฟ้าขาออก เพื่อเพิ่มขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าให้เป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า ตามเครื่องที่นำมาต่อขนานเพิ่ม เช่น นำเครื่องขนาด 6kVA สองเครื่องมาต่อขนานกันเพื่อให้ได้ขนาดพิกัด 12kVA (6kVA + 6kVA = 12 kVA) หรือ นำเครื่องขนาด 20kVA สามเครื่องมาต่อขนานกันเพื่อให้ได้ขนาดพิกัด 60kVA (20kVA+20kVA+20kVA=60kVA) เป็นต้น โดยเครื่องสำรองไฟฟ้าทั้งหมดที่นำมาต่อขนานกันนั้น จะแบ่งเบาภาระในการจ่ายกำลังไฟฟ้าของแต่ละเครื่อง ด้วยการเฉลี่ยการจ่ายกำลัง ไฟฟ้าให้จ่ายเท่าๆกันในแต่ละเครื่อง โดยตัวควบคุม (CPU Controller) ในแต่ละเครื่องจะถูกเชื่อมต่อเข้าหากัน โดยผ่านสายเคเบิล เพื่อให้ตัวควบคุมในแต่ละเครื่องทำงานประสานกัน (Hot Synch)เสมือนหนึ่งเครื่องเดียวกัน เพื่อให้มีระบบทดแทนเครื่องเสียแบบทันทีทันใด ท่านสามารถนำเครื่องสำรองไฟฟ้าที่รองรับเทคโนโลยี N+X Parallel Redundacy มาต่อขนานกันโดย N เท่ากับปริมาณเครื่องสำรองไฟฟ้า ที่น้อยที่สุดที่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ เช่นอุปกรณ์ไฟฟ้ามีความต้องการกำลังไฟฟ้าเท่ากับ 12kVA ท่านก็ใช้เครื่อง สำรองไฟฟ้าขนาด 6kVA จำนวน 2 เครื่องมาต่อขนานกัน N=2 และใช้เครื่องสำรองไฟฟ้าเพิ่มอีกหนึ่งเครื่อง X=1 มาต่อขนานเพิ่มเข้าไป เพื่อให้ เครื่องแต่ละเครื่องจ่ายพลังงานที่ขนาด 4kVA เท่ากัน 4x3=12kVA ดังนั้นหากมีเครื่องสำรองไฟฟ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งชำรุดเสียหายขึ้นมา เครื่อง สำรองไฟฟ้าที่เหลืออีก 2 เครื่องก็ยังสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน โดยท่านสามารถนำเครื่องสำรอง ไฟฟ้าเครื่องที่ชำรุดนั้น ออกจากระบบเพื่อนำไปซ่อมแซมได้ทันที โดยไม่กระทบต่อการจ่ายกำลังไฟฟ้าแต่อย่างใด ทั้งนี้เครื่องสำรองไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่องที่เหลืออยู่ ก็จะช่วยกันจ่ายกำลังไฟฟ้าเครื่องละ 6kVA เพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้า 6x2=12kVA เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เช่นเดิม เครื่องสำรองไฟฟ้าที่ถูกนำมาต่อขนานกัน ก็จะยังคงคุณสมบัติอื่นๆ ของเครื่องสำรองไฟฟ้าแบบ True Online Double Conversion ไว้อย่างครบถ้วน เช่น Automatic Bypass, Manual Bypass, Zero transfer time, etc. โดยเสมือนเป็นเครื่องสำรองไฟฟ้า แบบ True Online Double Conversion เครื่องเดียว ข้อดี - เป็นระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่องที่มีเสถียรภาพสูงที่สุดในขณะนี้ - สามารถปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในทุกกรณี - มีระบบตรวจสอบตัวเอง และโอนย้ายไฟฟ้าเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าตรงให้กับอุปกรณ์ในกรณีที่เครื่องเสีย หรือ อุปกรณ์ใช้กำลังไฟฟ้าเกินพิกัดที่กำหนด - รูปคลื่นทางไฟฟ้าจะไม่ขาดหายไปในระหว่างเกิดไฟฟ้าดับ (Zero Transfer time DC to AC) - สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม (220 +/- 1%) - สามารถเพิ่มขนาดกำลังไฟฟ้าเพื่อรองรับกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต - เป็นระบบแบบโมดูลล่า (Modular)โดยสามารถเพิ่มหรือลด เพื่อนำเครื่องสำรองไฟฟ้าออกจากระบบได้ทันที เพื่อการขยายกำลัง หรือซ่อมบำรุง โดยไม่กระทบต่อการจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง ข้อเสีย - ราคาสูงเมื่อเทียบกับเครื่องประเภทอื่นๆ ดูตัวอย่างสินค้า เครื่องสำรองไฟฟ้าในแบบ Line Interactive จะมีอยู่ 2 ประเภทที่มีเทคนิคที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือเครื่องสำรองไฟฟ้าที่ในระหว่างไฟฟ้าดับ วงจร DC/AC Inverter จะจ่ายสัญญาณไฟฟ้าขาออกแบบ Step wave หรือบางครั้งจะเรียกว่า Modified Sine wave หรือ Simulated Sine Wave *ซึ่งต่อไปจะใช้คำว่า "Step Wave" สำหรับอ้างอิง Step Wave UPS คือ เครื่องสำรองไฟฟ้าจะจ่ายรูปคลื่นไฟฟ้าขาออกที่ลักษณะเป็นรูปคลื่นแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งไม่ใช้่รูปคลื่นแบบ Sine Wave ซึ่งเป็นรูปคลื่นไฟฟ้าตามปกติ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต *แสดงตามรูปด้านล่าง เครื่องสำรองไฟฟ้าแบบ Step Wave จะเป็นเครื่องที่มีราคาต่ำสุดในท้องตลาด เมื่อเทียบกับ เครื่องสำรองไฟฟ้าแบบ Pure Sine Wave ดังนั้นท่านควรทราบถึงข้อจำกัดของ Step wave เมื่อเทียบกับ Pure Sine wave ว่าเป็นอย่างไร ประเด็นที่สำคัญและชัดเจนที่สุดก็จะเป็นเรื่องที่ Step wave ไม่สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีวงจรภายในแบบ PFC ได้ กล่าวคือในระหว่างไฟฟ้าดับ เครื่องสำรองไฟฟ้าจะจ่ายรูปคลื่นไฟฟ้า แบบ Step Wave ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีวงจรปรับค่า Power Factor Correction (PFC) ซึ่งจะทำให้วงจร PFC พยายามปรับค่ามุมองศาของการกินกระแสไฟฟ้าให้สอดคล้องกับค่ามุมองศาของแรงดันไฟฟ้า ซึ่งในกรณีนี้เป็นสัญญาณแบบ Step Wave ซึ่งจะทำให้เกิดการกินกระแสไฟฟ้าสูงมากเช่นเดียวกับกระแสลัดวงจร จนทำให้เครื่องสำรองไฟฟ้าปิดตัวเองทันที เนื่องจาก Fault โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องในระดับบน (Hi end) รุ่นใหม่ๆ และเครื่องในระดับเซอร์เวอร์ (Server) จะมีวงจร PFC เพิ่มเข้ามา ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการลด Pollution ทางไฟฟ้า แต่สำหรับเครื่องสำรองไฟฟ้าที่จ่ายสัญญาณไฟฟ้าแบบ Pure Sine wave จะไม่มีปัญหาการใช้งานใดๆ กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท เป็นวงจรปรับปรุงลักษณะการบริโภคกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีค่า PF. ต่ำกว่า 1 (เช่น PF = 0.6) ให้มีค่าใกล้เคียง 1 (เช่น PF =0.98) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของสายส่งไฟฟ้าให้ดีขึ้น ลดส่วนสูญเสีย (loss) ในระบบสายส่งไฟฟ้าลง โดยการเพิ่มวงจรปรับมุมองศาของการกินกระแสไฟฟ้า ให้เป็นมุมองศาเดียวกันกับรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้า เพื่อลดค่า VAR ลง แสดงดังรูป นอกเหนือจากเครื่องสำรองไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ลดความเสี่ยง การเกิดความเสียหายของข้อมูลคอมพิวเตอร์จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ยังมีอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้างนัก ที่สามารถลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์พลังงานไฟฟ้าดับได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับองค์กรที่มีระบบไฟฟ้าจาก 2 แหล่งไฟฟ้า เช่น ภายในอาคารที่มีระบบไฟฟ้าจากหม้อแปลงไฟฟ้า 2 เครื่อง หรืออาคารที่มีการใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า 2 เครื่อง สำหรับการใช้งานสำรองระหว่างกัน (Hot Standby) เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลด หรืออาคารที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Electrical Generator Machine) ซึ่งในกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น ท่านจะต้องมีอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติในการตรวจสอบสถานะของแหล่งไฟฟ้าทั้งสองแหล่ง และความสามารถในการโอนย้ายการจ่ายไฟฟ้า จากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหนึ่งไปสู่อีกแหล่งไฟฟ้าหนึ่ง ได้โดยอัตโนมัติแบบทันทีทันใด ไม่ขาดตอน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเราจะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า Source Transfer Switch หรือ STS หรือบางรายอาจเรียกว่า Automatic Transfer Switch (ATS) หรือ Static Transfer Switch (STS) อุปกรณ์ STS จะมีหน้าที่ในการถ่ายโอนแหล่งพลังงานไฟฟ้าให้โดยอัตโนมัติ โดยเมื่อเกิดไฟฟ้าดับที่แหล่งพลังงานไฟฟ้าหลัก STS จะทำการโอนย้ายการจ่ายไฟฟ้าไปเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าสำรองให้ทันทีทันใดอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้ากับโหลดไฟฟ้า และจะทำการโอนย้ายแหล่งพลังงานไฟฟ้ากลับมาที่แหล่งพลังงานไฟฟ้าหลัก เมื่อแหล่งพลังงานไฟฟ้าหลักอยู่ในสภาพพร้อมจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลด ดูรูปแสดงการใช้งานด้านล่างประกอบ ดูตัวอย่างสินค้า ระบบควบคุมและบริหารจัดการเครื่องสำรองไฟฟ้า เป็นระบบที่จะช่วยในท่านสามารถกำหนดรูปแบบ การทำงานแบบอัตโนมัติในระหว่างเกิดเหตุการณ์ทางไฟฟ้าในลักษณะต่าง เช่น -ในขณะไฟฟ้าดับ ให้ทำการแจ้งเตือนให้ทราบ ผ่านทาง email หรือ SMS -ในขณะจ่ายไฟฟ้าสำรองจนแบตเตอรี่ใกล้หมด ให้ทำการบันทึกข้อมูล และ Shutdown โปรแกรมโดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ผู้ดูแลระบบทราบ -ในขณะไฟฟ้ากลับเข้าสู่สภาวะปกติ ให้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด นอกจากนั้นท่านยังสามารถตรวจสอบสภาพทางไฟฟ้าทั้งหมดในขณะนั้นของเครื่องสำรองไฟฟ้า ได้จากระยะไกล (Remote) หรือสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้จากข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบ และยังสามารถสั่งการให้เครื่องสำรองไฟฟ้าทำการ ทดสอบตัวเอง (Self Test), ปิดการจ่ายไฟฟ้า, ฯลฯ ได้อีกต่างหาก ระบบจัดการและควบคุมเครื่องสำรองไฟฟ้า เช่น โปรแกรม WinPower รองรับการติดตั้งบนระบบปฏิบัติการทุกประเภท เช่น Windows, Linux, AIX, SUN, etc. และรองรับการติดตั้งในทุกรูปแบบ เช่น แบบเครื่องต่อเครื่อง (Stand Alone) แบบผ่านระบบเครือข่ายภายใน (LAN) ในรูปแบบ Client-Server หรือแบบผ่านระบบเครื่อข่ายภายนอก (WAN, INTERNET) ดูตัวอย่างสินค้า |
0 comments:
แสดงความคิดเห็น