I
Google (Google) ยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอนจิ้นเริ่มให้บริการค้นหาข้อมูลอัจฉริยะหรือ Semantic Search แล้ว ปรับให้เอนจิ้นของGoogleเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำได้ แถมเพิ่มจำนวนบรรทัดแสดงตัวอย่างบทความในลิงก์ที่พบ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดในแต่ละลิงก์ให้มากขึ้นก่อนตัดสินใจคลิก
ผลของการปรับปรุงครั้งนี้ คือผู้ใช้Googleจะสามารถพบข้อมูลอื่นที่เป็นเรื่องเดียวกับคีย์เวิร์ดแม้จะ เป็นคำคนละคำกัน เช่น หากสืบค้นด้วยคีย์เวิร์ด "principles of physics (หลักการฟิสิกซ์)" Googleจะโชว์ลิงก์ที่มีคำว่า "BigBang (การระเบิดครั้งใหญ่)" หรือ "Special Relativity (ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ)" ให้ด้วยเพราะเชื่อว่าลิงก์ที่มีคำเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สืบค้น ต่างจากอดีตที่จะแสดงลิงก์เพจที่มีคำตรงกับคีย์เวิร์ดเท่านั้น
Semantic Search เป็นคำที่ชาวไอทีใช้เรียกความสามารถในการสืบค้นตามแนวคิดหรือความสัมพันธ์ ไม่ใช่การสืบค้นเพื่อหาเว็บเพจที่มีตัวอักษรตรงกับคีย์เวิร์ดเช่นในอดีต แต่เป็นการสืบค้นเว็บเพจที่มีคำซึ่งสัมพันธ์กับคีย์เวิร์ด แน่นอนว่าบริษัทเสิร์ชเอนจิ้นทั่วโลกมีเป้าหมายพัฒนาให้เอนจิ้นของตัวเอง สามารถทำ Semantic Search ได้ และGoogleเป็นรายล่าสุดที่เริ่มนำมาให้บริการจริงแล้วในขณะนี้
ตามบทความที่หัวหน้าทีมเทคนิคเพื่อพัฒนาคุณภาพการสืบค้นของGoogleนาม Ori Allon เขียนในเว็บล็อกGoogleเกี่ยวกับการปรับปรุงครั้งนี้ ไม่มีการใช้คำว่า Semantic Search แต่ระบุว่าเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อให้ระบบของGoogleเข้าใจความต้อง การและแนวคิดที่ผู้ใช้ต้องการสืบค้นได้ดีขึ้น
นอก จาก Semantic Search Googleยังเพิ่มบรรทัดแสดงคำอธิบายลิงก์ผลการเสิร์ชเป็น 4 บรรทัด จากเดิมที่เคยแสดงเป็น 2 บรรทัด โดยจำนวนบรรทัดที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดในแต่ละลิงก์ได้มาก ขึ้นก่อนตัดสินใจคลิก และยังทำให้ผู้ใช้สามารถใส่คีย์เวิร์ดสำหรับสืบค้นได้มากเท่าที่ต้องการ
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการสะท้อนภาพความน่าสนใจใน semantic search ที่ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น โดยGoogleให้บริการ Semantic Search รองรับ 37 ภาษา (ไม่มีภาษาไทย) ได้แก่ภาษารัสเซีย ภาษาอิตาลี ภาษาอังกฤษ เป็นต
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของGoogleถือว่าช้ากว่ารายอื่น โดยเสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Ask.com นั้นเริ่มเปิดให้บริการ semantic search ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะที่คู่แข่งอย่างไมโครซอฟท์ออกมายืนยันว่ากำลังทดสอบ Kumo.com ที่เป็นเอนจิ้น semantic search ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถได้รับความนิยมจากตลาดได้มากกว่า Live Search ที่ไมโครซอฟท์ให้บริการอยู่ในขณะนี้
Google เปิดทดสอบระบบโฆษณาออนไลน์ใหม่ในชื่อ"interest-based advertising" หรือระบบโฆษณาออนไลน์ที่อิงตามความสนใจของผู้บริโภค เปิดฉากทดสอบกับนานาพันธมิตร AdWords และ AdSense ระบบโฆษณาดั้งเดิมของGoogleที่อิงกับคีย์เวิร์ดหรือคำสืบค้นซึ่งผู้ใช้ป้อน เข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูลเป็นหลัก โดยจะทดสอบกับเว็บไซต์แชร์ไฟล์วีดีโอชื่อดังที่Googleซื้อมาอย่างยูทูบ (YouTube) ด้วย
ระบบโฆษณาใหม่ของGoogleถูกออกแบบมาเพื่อบันทึกความสนใจของนักท่อง เน็ตโดยอ้างอิงจากประวัติการใช้งานเว็บไซต์และการค้นหาข้อมูล จากนั้นจะนำเสนอ"โฆษณาสั่งตัด"ที่ระบบเชื่อว่าเหมาะสมกับผู้ใช้โดยไม่คำนึง ถึงเนื้อหาเว็บไซต์ที่ถูกเปิดใช้งานในขณะนั้น ที่สำคัญ ผู้ใช้จะมีสิทธิ์ในการเพิ่มหรือลดประเภทโฆษณาสำหรับตัวเองได้ด้วย
สิ่ง ที่เกิดขึ้นคือ ระบบนี้จะทำให้โฆษณาขายรองเท้าปรากฎขึ้นแม้นักท่องเน็ตกำลังสืบค้นรายการ อาหาร โฆษณารองเท้าที่ถูกแสดงแก่ผู้ใช้ไม่มีความเกี่ยวพันกับคำสืบค้นชื่ออาหารที่ ถูกใช้งานในขณะนั้น หรือมีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อความเว็บไซต์ที่ถูกเปิดใช้งานอยู่ แต่จะเกี่ยวกับประวัติการสืบค้นในอดีตที่ผู้ใช้เคยให้ความสำคัญมาก่อนแทน ต่างจากแนวคิดดั้งเดิมของ AdWords และ AdSense ที่จะเน้นเสนอโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับคำสืบค้นหรือหน้าเว็บเพจในขณะ นั้น
"การโฆษณาที่อิงจากคีย์เวิร์ดหรือคำสืบค้นนั้นประสบความสำเร็จมาตลอด เพราะช่วยสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับผู้ใช้ นักการตลาด และสื่อผู้ผลิตคอนเทนท์ ที่ได้รับการตอบโจทย์ครบทุกคน Googleเชื่อว่าโฆษณาที่อิงจากความสนใจของผู้ใช้งาน ก็จะทำให้เกิดวงจรความสำเร็จในลํกษณะเดียวกัน แต่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับโฆษณาที่ตรงใจมากขึ้น ส่งให้รายรับของนักการตลาดและสื่อมีมูลค่าเพิ่มขึ้น" ตามเนื้อความแถลงการณ์ของGoogle
Susan Wojcicki ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของGoogleชี้แจงว่า การทดสอบระบบโฆษณาใหม่ของGoogleจะเริ่มบนเว็บไซต์ยูทูบและพันธมิตรหลายราย โดยจะทดลองให้นักการตลาดกำหนดกลุ่มเป้าหมายจากประเภทความสนใจหลักๆเช่น กีฬา การจัดสวน รถยนต์ หรือสัตว์เลี้ยงก่อนในเบื้องต้น ยังไม่มีรายงานว่าGoogleกำหนดให้การทดสอบเสร็จสิ้นเมื่อไรในขณะนี้
Wojcicki ยอมรับว่าระบบโฆษณาใหม่นี้จะเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัว ของผู้บริโภค เช่นเดียวกับที่คู่แข่งในตลาดโฆษณาออนไลน์รายอื่นเคยประสบชะตากรรมเดียวกัน มาก่อน จุดนี้Googleแก้ปัญหาด้วยการเปิดทางให้นักท่องเน็ตทุกคนสามารถเข้ามาชม ลบ หรือเพิ่มหมวดหมู่ความสนใจซึ่งระบบของกุเกิลวิเคราะห์ไว้ได้ผ่านเว็บเบราว์ เซอร์ รวมถึงสามารถให้ข้อมูลเพิ่มว่าต้องการโฆษณาลักษณะใดบนเว็บไซต์ยูทูบและ พันธมิตรของGoogle โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ระบบนำไปประมวลผล ไม่ใช่ทั้งหม
ที่ สำคัญ Googleได้สงวนสิทธิ์ในการเพิ่มหมวดหมู่ความสนใจบางหมวด โดยเฉพาะหมวดที่มีความเสี่ยงสูงเช่น หมวดสุขภาพ หรือหมวดที่ประกอบด้วยสินค้าล่อใจเยาวชน และยังให้สิทธิ์นักท่องเน็ตสามารถสั่ง Opt Out หรือปิดความสามารถไม่ให้ระบบติดตามประวัติการท่องเว็บจากไฟล์คุ้กกี้ (cookie) ได้ คาดว่าจะไม่ทำให้ประเด็นกล่าวหาว่าGoogleละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของผู้ บริโภคเกิดขึ้นในอนาคต
Company Related Links :Google.com
tags : Google
0 comments:
แสดงความคิดเห็น