แอร์คาร์ด (AirCard) คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop หรือ Labtop) ของเราเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะที่เราเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตไปแล้วยังสามารถใช้โทรศัพท์ โทร.เข้า-ออกได้ในเวลาเดียวกัน เพราะระบบมีการใช้ช่องสัญญาณคนละช่องสัญญาณกัน แต่ใช้ Cellsite เดียวกัน หรือทำหน้าที่เป็นแฟ็กซ์ไร้สายได้ด้วย ดังนั้นไม่ว่าเราจะนั่งรถ ลงเรือ หรืออยู่ที่ไหนขอมีเพียงสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ใช้งานได้ทั้งนั้น
ความแตกต่างระหว่าง AirCard กับ ระบบ Wi-Fi
Wi-Fi คือคุณสมบัติอันหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตใดๆ ก็ได้แบบไร้สาย (Wireless LAN) ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตรจากตัวแม่ข่ายของ Wi-Fiนั้นๆ หากไม่มีตัวแม่ข่ายการสื่อสารข้อมูลก็จะทำไม่ได้
AirCard คือ โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่โลกอินเทอร์ เน็ตแบบไร้สาย โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการเชื่อมสัญญาณเข้ากับ Cellsite ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้เล่นเน็ตที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
คุณสมบัติที่ควรมีใน AirCard
- สามารถรองรับระบบปฏิบัติการได้หลากหลายระบบ เช่น Window Vista, Window XP, Window ME, Window 2000 หรือ Mac OSX ใช้งานโดยเสียบเข้ากับ Port ยูเอสบี ได้ หรือไม่ก็ใช้ช่อง Slot PCMCIA ของ Labtop
- สามารถอัพเกรดเฟิร์มแวร์ได้ โดยใช้งานได้ทั้งกับเครือข่าย UMTS/ EDGE/ GSM
- สามารถรองรับซิมของระบบโทรศัพท์มือถือบ้านเราได้ทุกค่าย รองรับระบบ 3G และ EDGE Class 12/ GPRS Class 12
- รองรับการใช้งาน Voice หรือส่ง SMS
- รองรับการใช้งานด้านโทรศัพท์และการใช้งานแฟ็กซ์ควรเลือก AirCard ที่กินไฟน้อย เพราะเหมาสำหรับการใช้งานกับเครื่องโน้ตบุ๊ค หากเราใช้ Aircard ที่กินไฟมากๆ พลังงานในแบตเตอรี่ของเครื่องก็จะหมดเร็วไปด้วย
WI-FI คืออะไร
วายฟาย[1] (Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity) หมายถึงชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11
วายฟาย[1] (Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity) หมายถึงชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11
เดิมทีวายฟายออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่างๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้วายฟายเพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์ และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมเรียกว่า ฮอตสปอต
แต่เดิมคำว่า Wi-Fi เป็นชื่อที่ตั้งแทนตัวเลข IEEE 802.11 ซึ่งง่ายกว่าในการจดจำ โดยนำมาจากเครื่องขยายเสียง Hi-Fi อย่างไรก็ตามในปัจจุบันใช้เป็นคำย่อของ Wireless-Fidelity โดยมีแสดงในเว็บไซต์ของ Wi-Fi Alliance โดยใช้ชื่อวายฟายเป็นเครื่องหมายการค้า
ปัจจุบันวายฟายถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย เครื่องเล่นวิดีโอเกม นินเทนโด ดีเอส และ พีเอสพี มีความสามารถในการเล่มเกมกับเครื่องอื่นผ่านวายฟายเช่นกัน
Wireless LAN คืออะไร
แลนไร้สายหรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุใน การเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)
นิยาม
ไวเลส (Wireless) คือ ไม่มีสาย ลองนึกภาพถึงแลนปกติที่เชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสวิตซ์ (Switch) หรือฮับ (Hub) ด้วยสายสัญญาณที่เรียกว่า สาย UTP แต่ไวเลส คือการเชื่อมต่อที่ไม่มีมีสายแลนนั่นเอง
แลน (LAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่ เช่นระบบแลนภายในบ้าน ในบริษัทหรือองค์กร ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
มาตราฐานความเร็วของแลนไร้สาย ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มีมาตราฐานรองรับ เช่น IEEE 802.11a, b และ g ซึ่งแต่ละมาตราฐานจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร กัน เช่น
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11a มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถึ่ย่าน 5 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11b มีความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11g มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
ในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ช่องคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz เป็นคลื่นความถี่เสรี ที่ทุกคนสามารถติดตั้งและใช้งานได้ จึงทำให้ในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ที่จำหน่ายเพียงสองมาตราฐานคือ IEEE 802.11b และ g เท่านั้น
GSM คืออะไร
GSM ย่อมาจาก Global System for Mobile Communications เป็นมาตรฐานของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 2 พันล้านคนใน 213 ประเทศ ถึง 84.2% ของมือถือทั่วโลก ประเทศจีนมีผู้ใช้งานเป็นอันดับหนึ่งของโลก มากกว่า 370ล้านคน ตามด้วยประเทศรัสเซีย 145ล้านคน, อินเดีย 83ล้านคน และสหรัฐอเมริกาถึง 78ล้านคน GSM เป็นมาตรฐานเปิดภายใต้การดูแลของ 3GPP
GSM ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับช่องสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงแบบ TDMA ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือก่อนหน้านั้น จึงถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือในยุคที่สอง หรือ 2Gซึ่งหมายถึง การพัฒนาระบบขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
การพัฒนาอย่างแพร่หลายของ GSM เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสะบายมากขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ควบคุมระบบเนตเวิร์ค ให้มีตัวเลือกในการใช้งานมากขึ้น เนื่องจากมีผู้จัดทำอย่างแพร่หลาย GSM เริ่มต้นด้วยทางเลือกใหม่ ซึ่งมีราคาที่ถูกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการติดต่อสื่อสาร นั่นก็คือ Short message service หรือเรียกอีกอย่างว่าเท็กเมสเสสจิ้ง ซึ่งโทรศัพท์มือถือทั่วไปสามารถรองรับได้อย่างดี
3G คืออะไร
3G (สามจี หรือ ทรีจี) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาและกำลังมาแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน International Mobile Telecommunications 2000, IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของ International Telecommunication Union (ITU)
3G หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ WCDMA ในระบบ GSM 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 (ที่เป็นสากลที่โทรศัพท์ระบบ 3G ต้องมี)
3Gนั้น ได้พัฒนามาจาก GPRS และ EDGE ตอนนี้ได้มีในเมืองไทยแล้ว แต่ในของระบบ AIS นั้นจะทำ HSDPA หรือ 3.5G (ระบบ 3G มีใช้เฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ และ กทม.) โดยขณะนี้ มีแค่ AIS และ ทรูมูฟ เท่านั้นที่ให้บริการ
3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
• “ต้องมี แพลทฟอร์ม(Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
• “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming)” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
• “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service)” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
• อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว
UMTS คืออะไร
UMTS ย่อมาจาก "Universal Mobile Telecommunication System" เป็นเครือข่ายในยุค 3G ที่มีพัฒนาการมาจากเครือข่าย GSM, GPRS และ EDGE ซึ่งหลาย ๆ ครั้งอาจเรียกได้ว่าเป็นเครือข่าย W-CDMA โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานด้านการรับ-ส่งข้อมูลที่มาก ขึ้นของลูกค้า เครือข่าย UMTS นั้นจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 2 Mbit/sec ซึ่งมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่มากกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้บริการในปัจจุบันถึง 4 เท่า ด้วยเหตุนี้เอง เครือข่าย UMTS จึงเป็นเครือข่ายที่ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างคาดหวังว่าจะมาช่วยตอบสนองความ ต้องการด้ารการใช้ข้อมูลของลูกค้า รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวนมาก
มาตรฐานของ UMTS ในปัจจุบันนั้นมีการเผยแพร่ออกมาแล้ว 4 มาตรฐานด้วยกัน โดยหน่วยงาน 3GPP (3G Partnership Project) รับหน้าที่ในการออกแบบมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
Release 99 เป็นมาตรฐานใช้งานที่เพิ่มเติมจากเครือข่าย GPRS และ EDGE
โดยจะมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ในส่วนของ BSS (Base Station Subsystem) ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ผู้ใช้บริการกับเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยกลุ่มของอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้นมีชื่อเรียกว่า UTRAN (UMTS Terrestrial Radio Access Network)
Release 4 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ Core-Network โดยจะมีการนำเครือข่ายแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode) และ IP ซึ่งเป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบเป็น Packet เข้ามาใช้งานแทนเครือข่ายแบบ Circuit Switched ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่าย GSM ในปัจจุบัน
Release 5 เป็นมาตรฐานที่เพิ่มเติมในส่วนของ IMS (IP Multimedia Service) โดยการทำงานของ IMS จะช่วยให้การใช้งานแบบ Multimedia ในลักษณะของ Person to Person มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
Release 6 เป็นมาตรฐานที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก เพียงแต่เพิ่มความสามารถในการทำงานของการจดจำคำพูด (Speech Recognition), Wi-Fi / UMTS inter-working (การสื้อสารระหว่างเครือข่าย Wireless LAN กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่)
HSDPA คืออะไร
HSDPA (High-Speed Downlink Packet Access) เป็นระบบเครือข่ายมือถือระบบ UMTS ซึ่งเป็นเครือข่ายมือถือรุ่นที่สาม (3G) HSDPA พัฒนาความเร็วในการดาวน์โหลด รองรับความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลถึง 1.8 เมกะบิตต่อวินาที, 3.6 เมกะบิตต่อวินาที, 7.2 เมกะบิตต่อวินาที และ 14.4 เมกะบิตต่อวินาที HSDPA มีความเร็วของการสื่อสารสูงกว่า EDGE ถึง 36 เท่า หรือเร็วกว่า GPRS ถึง 100 เท่า ความเร็วขนาดนี้ทำให้ผู้ใช้เพลิดเพลินกับการดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่
High-SpeedUplinkPacketAccess(HSUPA)เป็นโปรโตคอลสามจีในตระกูลWCDMAที่พัฒนาอินเทอร์ เน็ตความเร็วด้านUplinkตาม ชื่อมาตรฐานจากเดิมที่มุ่งเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีมือถือด้านดาวน์ โหลดตามพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ใน ปัจจุบันต้องการความเร็วด้านอัพโหลดมากขึ้นอาทิเช่น โปรแกรมแชร์ภาพวิดีโอไฟล์ข้อมูลต่างๆโปรแกรมPoint-to-Pointได้รับความนิยมมากขึ้นเทคโนโลยีก็ได้พัฒนาสอดคล้อ งกับความต้องการของผู้บริโภค
มาตรฐาน HSUPA ถูกกำหนดไว้ใน 3GPP โดยมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตด้านอัพโหลดและลดดีเลย์ โดยใช้เทคนิคคล้ายกับที่ประยุกต์ในHSDPAอาทิเช่นลดช่วงเวลาในการส่งข้อมูลเพื่อให้สามารถปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆให้สอดคล้อง กับสภาพช่องสัญญาณได้เร็วขึ้น และยังใช้ Hybrid ARQ ร่วมกับ Incremental redundancy เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อมีการส่งซ้า
DoCoMoโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ในญี่ปุ่นได้พัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานมาตรฐานW-CDMAโดยล่าสุดได้ประกาศ จะเปิดให้บริการFOMAHighSpeedซึ่งใช้เทคโนโลยีHSUPAและยังได้เตรียมการให้บริการSuper3Gที่ รองรับการส่งข้อมูลความ เร็วสูงสามารถส่งคอนเทนต์ภาพเคลื่อนไหวขนาดใหญ่การรับส่งข้อมูลบรอดแบรนด์ ไร้สายที่จะมีโอกาสสร้างบริการและธุรกิจอื่นๆ ได้อีกมากมาย โดยได้ทดลองประสิทธิภาพของระบบ Super 3G ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วมากถึง 300 Mbps เทคโนโลยี Super 3G จะใช้ความถี่เดิมที่ส่วนใหญ่มีการใช้งานกันอยู่ที่ย่าน 2.1GHz เนื่องจากหลายโอเปอเรเตอร์ได้ลงทุนความถี่ย่านนี้ในระบบปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมีการใช้งานโครงข่ายมือถือด้วยเทคโนโลยีเดียวกันในย่านความถี่อื่นเช่น ย่าน 850MHz อย่าง Cingularในสหรัฐอเมริกา และTelstarในออสเตรเลียและที่สำคัญมีการพูดถึงRefarmingสำหรับเทคโนโลยีนี้อาทิเช่นในย่าน900MHzโดยมีผู้ผลิตอุปกรณ์โทร คมนาคมได้
ประกาศพร้อมที่จะมีอุปกรณ์ที่ใช้ย่านความถี่ 900 MHzจึงได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ให้บริการมือถือGSMที่มีคลื่นความถี่นี้ อยู่ในมือซึ่งตามที่ทราบกันดีความถี่ที่ต่ำกว่าจะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการได้ดีกว่าแม้ว่าในบางประเทศยังไม่ได้เปิดให้บริการ3G หรือแม้กระทั่งเปิดตัวไปแล้วยังประสบปัญหาไม่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้ดีเท่าที่ควรต่างจากญี่ปุ่นDoCoMoจัดได้ว่าประสบความ สำเร็จในธุรกิจ 3G มีเครื่องมือถือใหม่ๆ ที่เป็น 3G ออกวางตลาดให้ผู้ใช้ได้เลือกซื้อตามรูปแบบที่ต้องการ หรือ ตามฟังก์ชันการใช้งาน พร้อมกับเตรียมตัวให้บริการ4Gซึ่งได้ทำการทดสอบโดยมีเป้าหมายความเร็วสูงถึง1Gbpsอย่างไรก็ตามในห้องวิจัยสามารถส่งข้อมูล ได้สูงถึง5Gbpsแล้วลำดับต่อไปก็เข้าสู่ขบวนการผลักดันเทคโนโลยีนี้ให้เป็นมาตรฐานสากลต่อไปเทคโนโลยี4Gที่DoCoMoให้ความ สำคัญจะใช้ Variable Spreading Factor-Spread Orthogonal Frequency Division Multiplexing (VSF-Spread OFDM) และ Multi-Input Multi-Output (MIMO) เทคโนโลยีตระกูลนี้ได้ถูกประยุกต์ใช้ในหลายบริการอยู่บ้างแล้ว
วิวัฒนาการของ HSPA (HSPA+) จาก HSDPA & HSUPA
HSDPA คือเทคโนโลยีซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูลใน downlink ให้แก่โอปเปอเรเตอร์บรอดแบนด์ไร้สาย และก่อให้เกิดการให้บริการข้อมูลยุคหน้า ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยโอปเปอเรเตอร์ทั่วโลกผนวก กับประสิทธิภาพข้อมูลสูงใน downlink ด้วยอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดกับความจุระบบที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพ latency ต่ำที่เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการเชื่อมต่อกับงบประมาณที่ดีขึ้นและพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น รวมทั้งศักยภาพประสิทธิภาพสูงของเซลล์
HSDPA คือ ช่องสัญญาณข้อมูล Packet ความเร็วสูง downlink ใหม่ ที่ถูกแนะนำว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Release 5 ซึ่งเป็นส่วนขยายต่อของเทคโนโลยี WCDMA ซึ่งเป็นส่วนบนสุดของช่องสัญญาณปกติของ WCDMA Rel. 99 สื่อสัญญาณ Release 5 ได้รับการออกแบบเพื่อสนับสนุนผู้ใช้ HSDPA และ R99 อย่างพร้อมกันหรืออย่างทางเลือกที่ HSDPA สามารถถูกใช้โดยเฉพาะในสื่อสัญญาณของตนเอง
HSDPA ให้อัตราความเร็วข้อมูลสูงสุดถึง 14.4 Mbps ในช่องสัญญาณเดี่ยวถึงแม้ว่าอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดในเชิงพาณิชย์ปัจจุบัน อยู่ในระยะของ 3.6 Mbps เพื่อ 7.2 Mbps HSDPA ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้ข้อมูลของผู้ใช้ 3G เป็นอย่างมาก ที่ซึ่งเพิ่มความจุของข้อมูลได้ถึง 300 เปอร์เซ็นต์ผ่าน Rel '99 ในdownlink และประสิทธิภาพที่สูงกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี GPRS และ EDGE
HSDPA ใช้ WCDMA เพื่อยกระดับประสิทธิภาพใหม่ที่สามารถสนับสนุนแอพพลิเคชั่นบรอดแบนด์ได้ เพิ่มขึ้นกับ latencies ที่ต่ำลง ระยะเวลาการดีเลย์ที่สั้นกว่าและเวลาโต้ตอบของเครือข่ายที่เร็วขึ้นและ QoS ที่ดีกว่าสำหรับข้อมูล
HSDPA เตรียมการพัฒนาเครือข่ายให้เป็นไปอย่างราบรื่นและเสนอทางเลือกในการใช้อย่าง ยืดหยุ่นให้แก่โอปเปอเรเตอร์ ในฐานะที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับเทคโนโลยี R'99 การใช้ HSDPA สามารถจัดระดับให้เหมาะสมกับการลงทุนเครือข่ายตามต้องการได้
การอัพ เกรดจาก R'99 เป็น HSDPA ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดในการปฏิบัติงานของ Node B และ RNC Node B สามารถปฏิบัติการฟังก์ชั่นซึ่งก่อนหน้านี้ปฏิบัติการโดย RNC (R99) ซึ่งก่อให้เกิดผลดีดังต่อไปนี้:
• เวลาการโต้ตอบเร็วขึ้น ตามข้อเท็จจริงในการปฏิบัติการของ Node B จะย่นระยะดีเลย์ในการเดินทางไปกลับของข้อมูลสั้นกว่าตามแผนกำหนดการ และการปรับเพิ่มการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
• การใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามแผนงานเร็วขึ้น
• HSDPA รวบรวม H-ARQ ทำให้ปรับปรุงประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลซ๊ำดีขึ้น
เทคนิค ใหม่แห่งยุคหน้าได้ถูกรวบรวมดังต่อไปนี้ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของ HSDPA ตามแนวคิดแห่งยุคหน้าและเทคนิคใหม่ซึ่งถูกรวบรวมเข้าไปในการออกแบบของ เทคโนโลยีดังต่อไปนี้:
• ช่องสัญญาณทางกายภาพความเร็วสูงใหม่ (New High Speed Physical Channels)
o โหมด HSDPA แนะนำช่องสัญญาณข้อมูลความเร็วสูงใหม่ที่เรียกว่า High Speed Physical Downlink Shared Channels (HS-PDSCH) ซึ่งถูกกำหนดให้ผู้ใช้ในโดเมน (domain) ตามช่วงเวลาซึ่งมี 15 ช่องสัญญาณเหล่านี้ซึ่งทำงานในหนึ่งของ 5MHz ของช่องสัญญาณวิทยุ WCDMA ทรัพยากรได้ถูกกำหนดการใช้ในทั้งเวลาและรหัสของโดเมน(ช่องสัญญาณ HS-DSCH).
• การปรับปรุงการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น การผสมผสานและการใส่รหัสที่ดีขึ้น (Fast Link Adaptation, Higher Modulation and Coding)
o HSDPA สนับสนุนการผสมผสานคำสั่งเร็วกว่าซึ่งรวมถึง QPSK & 16QAM. 16-QAM ที่เพิ่มความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ขณะที่ QPSK มีให้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้
o HSDPA ใช้อัตราการใส่รหัสของ R = 1/3 ถึง R =1
o การยึดหลักบนการรับส่งสัญญาณและสภาพแวดล้อมของช่องสัญญาณ ผู้ใช้ HSDPA ถูกจัดสรรการผสมผสานและแผนการใส่รหัสที่เหมาะสม เพื่อที่จะขยายอัตราการรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด กระบวนการของการเลือกสรร การปรับปรุงผสมผสานและอัตราการความเร็วในการใส่รหัสให้เร็วที่สุดถูกใช้ เพื่อเป็นการปรับปรุงการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น
• การกำหนดรายการเร็ว (Fast scheduling)
o บนการตอบโต้ข้อมูลคุณภาพช่องสัญญาณเร็ว และช่อง TTI ที่สั้นกว่า HSDPA ทำให้การกำหนดการใช้ทรัพยากรรวดเร็วกว่า การจัดสรรการใช้ทรัพยากรแก่ผู้ใช้กับเงื่อนไขคลื่นวิทยุที่ดีที่สุดได้ทัน ท่วงที ก่อให้เกิดการแบ่งสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมแก่ผู้ใช้ ผู้กำหนดรายการอาจจะเลือกผู้ใช้ที่มีคุณภาพสัญญาณที่ดีกว่าในเวลาเดียวกัน ผู้กำหนดรายการก็จะก่อให้เกิดความแน่ใจว่าผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับบริการในการ ส่งผ่านของข้อมูลในระดับที่เหมาะสม วิธีนี้ของการจัดสรรทรัพยากรถูกเรียกว่า การกำหนดรายการอย่างทัดเทียมตามสัดส่วน
• ความแตกต่างของผู้ใช้มากมาย
o เป็นเงื่อนไขช่องสัญญาณที่แตกต่างสำหรับผู้ใช้ที่แตกต่าง ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับบริการเมื่ออยู่ภายใต้เงื่อนไขคลื่นวิทยุที่สมบูรณ์ ผลของวิธีนี้จะช่วยขยายเซ็กเตอร์ของข้อมูลได้มากที่สุด ในขณะที่เครือข่ายสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้มากมายด้วยประสิทธิภาพสูง อาทิเช่น ผลการส่งผ่านข้อมูลจะสูงขึ้นเมื่อระบบมีผู้ใช้มากขึ้น
• การรับส่งข้อมูลซ๊ำด้วยความเร็วสูงผ่าน Hybrid ARQ (Fast retransmissions through Hybrid ARQ):
O Hybrid Automatic Repeat Request (ARQ) คือกระบวนการของการผสมผสานการรับส่งข้อมูลที่วนซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การถอดรหัสที่ประสบความสำเร็จ เทคนิคนี้ถูกเพิ่มผ่านกลไกในชั้น MAC ของ Node-B ตามด้วยการกำหนดรายการและเทคนิคการปรับปรุงในการเชื่อมต่อ กระบวนการนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการโต้ตอบต่อปัจจัยผันแปรของคลื่น วิทยุเรียลไทม์ที่สถานีฐาน เพื่อขยายการส่งผ่านข้อมูลให้มากที่สุดและย่นระยะเวลาดีเลย์ให้น้อยที่สุด
• Shorter transmission time interval (TTI) frames
O HSDPA แนะนำเฟรมข้อมูลแพ็คเก็ตเวลา TTI ที่สั้นมากเพียง2 ms เป็นครั้งแรก ซึ่งน้อยกว่า
ช่วง เวลา 10 - 20 ms ที่ใช้ใน WCDMA Release 99 ข้อมูลแพ็คเก็ตถูกจัดสรรให้แก่ผู้ใช้ต่างๆ ที่ถูกกำหนดให้แก่หนึ่งหรือมากกว่าของช่องสัญญาณเหล่านี้สำหรับ TTI สั้นของ 2 ms เครือข่ายสามารถปรับให้เหมาะสมแก่ผู้ใช้ที่ถูกกำหนดสำหรับ HS-PDSCH ที่เปลี่ยนไปในทุกๆ สองล้านวินาที ผลที่ได้ก็คือทรัพยากรได้ถูกกำหนดในช่วงเวลาสั้น เพื่อทำให้การรับส่งข้อมูลซ๊ำได้รวดเร็วขึ้นและการควบคุมในการจัดสรร ทรัพยากรที่ดีกว่า
High Speed Uplink Packet Access (HSUPA)
HSUPA เป็นโหมดมาตรฐานใน Release 6 ที่ขยายคุณประโยชน์ของ HSDPA สู่ Uplink HSUPAแนะนำช่องสัญญาณทางกายภาพใหม่ที่เรียกว่า Enhanced Dedicated Channel (E-DCH) ซึ่งสำคัญในการก่อให้เกิดชุดของการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ uplink สูงสุด HSUPA รวบรวมความคิดและหลักการที่คล้ายคลึงใน HSDPA ดังต่อไปนี้:
• Fast Uplink Scheduling
• Fast and efficient retransmissions using Hybrid ARQ Uplink
• Shorter TTI frames for Uplink
โหมด ใหม่นี้เพื่อ uplink จะได้บรรลุในการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ลด latency และเพิ่มประสิทธิภาพของสเปคตรัม ทำให้ HSUPA ต้องการเพียงการเปลี่ยนชั้น PHY และ MAC เป็น Node Bs และ การเปลี่ยนชั้น MAC เป็น RNCs เท่านั้น
โหมด HSUPA จะทำให้อัตรารับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 5.76 Mbps และเกือบจะสองเท่าของความจุ uplink cell ลด latency ได้สูงถึง 85% ตามระบบของ Release 99 และประสบความสำเร็จอย่างมากในการปรับปรุงอัตราความเร็วข้อมูลของผู้ใช้ เทคนิคเพิ่มเติม อาทิเช่น interference cancellation และตัวรับ 4-Rx ที่เพิ่มความจุของเซลล์ในระบบ HSUPA มากถึง 400%
HSUPA ยังลดระยะเวลาดีเลย์แพ็คเก็ตอย่างมาก การรวมของ TTI สั้นลง การกำหนดรายการที่รวดเร็วขึ้นและ Hybrid ARQ ที่รวดเร็วซึ่งคล้ายกับการให้บริการ downlink เพื่อลด latency HSUPA สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมของ QoS สำหรับการใช้ทรัพยากรระบบ uplink ที่ดีขึ้น HSUPA ทำให้การควบคุมทรัพยากร air link ของ Node B ดีขึ้นรวมทั้งการกำหนดรายการที่รวดเร็วสำหรับการปรับปรุง uplink มากที่คล้ายกับ HSDPA ใน downlink.
โหมด HSUPA ที่เพิ่มประสิทธิภาพ uplink นอกเหนือไปจากโหมด HSDPA ที่ใช้เทคโนโลยี WCDMA เพื่อทำงานด้วยกันในระดับใหม่ ในการให้บริการที่ดีสุดของบรอดแบนด์ไร้สาย การรวมเข้าด้วยกันของ HSDPA และ HSUPA ซึ่งถูกกำหนดเป็น HSPA ได้ให้การสนับสนุนที่ดีกว่าสำหรับแอพพลิเคชั่นที่ไวต่อการดีเลย์ อาทิเช่น VoIP, Video telephony และแอพพลิเคชั่นเกมมากมาย HSPA ได้เพิ่มประสบการณ์ที่ดีอย่างมากแก่ผู้ใช้ในการใช้ uplink และแอพพลิเคชั่นต่างๆ อาทิเช่น การส่งไฟล์งานและการส่งวีดีโอและรูปภาพ
การ เพิ่มประสิทธิภาพใหม่ใน uplink ของเทคโนโลยี HSUPA ที่ใช้งบประมาณลดลงรวมทั้งการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณทั้งในเมืองและ ชนบทด้วยขนาดของเซลล์ที่ใหญ่ขึ้น
วิวัฒนาการของ HSPA (HSPA+):
HSPA+ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการอักขั้นหนึ่งของเทคโนโลยี HSPA เพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากของ Rel 6 HSPA ในการรับส่งผ่านแบนด์วิดธิ์ 5 MHz ฟีเจอร์ของ HSPA+ เป็นมาตรฐานของ รุ่น 3GPP 7 และ8 HSPA+ เป็นวิวัฒนาการโดยตรงของ HSPA Release 6 กับโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายในปัจจุบัน
HSPA+ ทำให้การทำงานตรงเวลาและประหยัดต้นทุน ด้วยการยกระดับทรัพยากรสเปคตรัมและเครือข่ายที่มีอยู่ด้วยประสิทธิภาพที่ดี ที่สุดของคลื่น 5 MHz HSPA+ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับเครือข่ายและอุปกรณ์ที่มีอยู่ของ R99/R5/R6 หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของ HSPA+ คือการช่วยให้โอปเปอเรเตอร์สามารถพัฒนาสินทรัพย์ที่มีอยู่ ((cell sites, RAN และเครือข่ายหลัก) และการใช้ในพื้นที่ที่เลือกสรรแล้วว่ามีความต้องการใช้เสียงและข้อมูลสูง HSPA+ จะยังช่วยโอปเปอเรเตอร์ในการเพิ่มการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายที่เร็วขึ้น แก่ตลาดด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
HSPA+ พัฒนาประสิทธิภาพความจุของระบบสำหรับข้อมูลและแอพพลิเคชั่นที่ไวต่อการดีเล ย์ อาทิเช่น VoIP HSPA+ เพิ่มอัตราความเร็วข้อมูลเฉลี่ยของผู้ใช้และอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดโดยการ ใช้ MIMO, การผสมผสานคำสั่งที่เร็วขึ้น (DL-64QAM, UL-16QAM), และการเพิ่มประสิทธิภาพอื่นๆ ตารางดังต่อไปนี้วาดให้เห็นการปรับปรุงที่เป็นไปได้ด้วย HSPA+ กับอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดและประสิทธิภาพของระบบ ดังต่อไปนี้:
EDGE คืออะไร
EDGE (เอดจ์) ย่อจาก Enhanced Data rates for Global Evolution เป็นระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย 2.75G ในเครือข่ายโทรศัพท์ คล้ายกับระบบGPRS แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือที่ประมาณ 300 KB ในปัจจุบันมีทุกพื้นที่ของประเทศ
EDGE คือวิธีการสื่อสารระบบสู่โลกอินเทอร์เน็ต โดย EDGE (Enhanced Data Rate for Global Evolution) เป็นเทคโนโลยีตามมาตรฐานโลกที่กำหนดโดยITU (International Telecommunications Union) จะมีความเร็วมากกว่า GPRS ถึง 4 เท่า โดยมีความเร็วอยู่ในระดับ 200-300 Kbps
EDGE คือเทคโนโลยีในการรับ - ส่งข้อมูลด้วยเครือ ข่ายไร้สาย โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 236 Kbps ซึ่งสูงกว่าการส่งด้วยเครือข่าย GPRS ถึง 4 เท่า ช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากการส่ง - รับข้อมูล (Applications/Contents) บนโทรศัพท์ มือถือได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า ทั้งการเข้า WAP และ WEB รับส่ง MMS, Video/Audio Streaming และ Interactive Gaming และเป็นก้าวสำคัญเพื่อการก้าวเข้าสู่ ยุค 3G
GPRS คืออะไร
จีพีอาร์เอส หรือ GPRS เป็นตัวย่อ ของ General Packet Radio Service เป็นบริการส่งข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือแบบ GSM โดย GPRS มักถูกเรียกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือยุค 2.5G ซึ่งอยู่ระหว่าง 2G และ 3G ทางเทคนิคแล้ว GPRS ใช้ช่องสัญญาณแบบ TDMA ของเครือข่าย GSM ในการส่งข้อมูล ในทางทฤษฎีแล้ว ความเร็วสูงสุดของ GPRS อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลบิตต่อวินาที
Class ของ AirCard คืออะไร
Class ของ Aircard ถ้าเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ก็คือ ความเร็ว CPU ที่สูงกว่า ซึ่งเราจะต้องดูว่า Aircard นั้นเขาให้ Class ที่เท่าไร ในปัจจุบันนี้เป็น Class 12
PCMCIA/PC Card คืออะไร
Personal Computer Memory Card International Association หรือ PCMCIA เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกร่วมกว่า 500 บริษัท Japan Electronic Industry Development Association หรือที่รู้จักกันในชื่อ JEIDA เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อหากำไร แต่ต้องการให้อุตสาหกรรมด้านอิเลคทรอนิคส์ได้มีการขยายตัว และมรการพัฒนามากยิ่งขึ้น และในที่สุดทั้งสององค์กร คือ PCMCIA และ JEIDA ก็ได้รวมตัวกันเพื่อพัฒนามาตรฐานสำหรับอแด็ปเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับบัตร เครดิต ซึ่งเราเรียกว่า PC Card เทคโนโลยีนี้ถูกผลิตออกมาสำหรับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคและคอมพิวเตอร์แบบพกพา อื่นๆ
ในปีพ.ศ. 2528 JEIDA ได้เริ่มกำหนดมาตรฐานของ PC Card ขึ้น การจัดองค์กรได้ทำเป็นรูปร่างขึ้นมาเพื่อที่จะโฆษณาผลิตภัณฑ์การ์ดหน่วยความจำ, เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ และในปีพ.ศ. 2533 JEIDA ก็ได้ประกาศข้อกำหนดออกมา 4 Release ด้วยกัน
สำหรับ PCMCIA ได้ทำการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยกลุ่มเล็กๆ ของบริษัทที่ต้องการให้เกิดมาตรฐานของการ์ดหน่วยความจำขึ้นมา และยังมีเหตุผลที่สำคัญอื่นๆ ก็คือ กลุ่มบริษัทเหล่านี้ต้องการให้เพิ่มจำนวนแหล่งการผลิตมากขึ้น ต้องการให้มีการกระจายความเสี่ยง ลดอัตราความเสี่ยงให้ต่ำลง และต้องการขยายให้ตลาดกว้างขึ้น ในการจัดตั้งกลุ่มของ PCMCIA ครั้งแรกนั้น มีจำนวนสมาชิกอยู่ประมาณ 25 บริษัท โดยเบื้องต้นมีคณะกรรมการอยู่ 2 ชุด คื อคณะกรรมการด้านเทคนิค และคณะกรรมการด้านการตลาด ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนามาตรฐานของ PC Card โดยมีจุดประสงค์ไม่เพียงแต่พัฒนาด้านเทคโนโลยีให้เป็นไปได้เท่านั้น แต่ต้องทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดด้วย เช่น ทำการผลิต Fax/Modem ด้วยแทนที่จะทำเฉพาะการ์ดหน่วยความจำ (Memory card) เท่านั้น
การที่สามารถทำให้การ์ดมีความสามารถด้านอินพุทและเอาท์พุทนั้น กลายมาเป็นจุดดึงดูดอย่างมากในการพัฒนาเทคโนโลยีออกไปสู่ตลาดของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคอย่างรวดเร็ว การเพิ่มช่อง Slot สำหรับ PC Card ทำให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคสามารถขยายขอบเขตการใช้งานให้เพิ่มมากขึ้นได้โดย PCMCIA และ JEIDA ได้รวบรวมเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถทำงานร่วมกับ PC Card ได้ โดยไม่จำกัดเทคโนโลยีให้อยู่ที่ Silicon base เท่านั้น แต่ได้มีการพัฒนาให้การ์ดมีความสามารถเพิ่มสูงขึ้นด้วย
PC Card ได้ถูกกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการต่อเชื่อมหรือการอินเตอร์เฟสเป็นแบบ 68 ขา (Pin) ระหว่างการ์ดที่ต่อพ่วงและช่อง (Socket) ที่ใส่ PC Card ในคอมพิวเตอร์ มาตรฐานนี้ได้กำหนดขนาดของ PC Card ออกเป็นสามประเภท ได้แก่ ประเภทที่หนึ่ง (Type I) ประเภทที่สอง (Type II) และประเภทที่สาม (Type III) ซึ่ง PC Card ทั้งหมดจะมีขนาดความกว้างและขนาดความยาวเท่ากันหมด โดยที่ขนาดดังกล่าวจะเท่ากับบัตรเครดิตทั่วๆ ไป แต่ขนาดความหนาของ PC Card จะแตกต่างกันตามประเภทต่างๆ คือ ประเภทที่หนึ่ง การ์ดจะมีความหนาเพียง 3.3 มม. ซึ่งเป็นประเภทที่มีขนาดบางที่สุด โดยมีจุดประสงค์ในการประดิษฐ์เพื่อนำมาเป็นการ์ดสำหรับหน่วยความจำ (Memory card) ประเภทที่สอง การ์ดจะมีความหนาเพียง 5 มม. ถูกประดิษฐ์ออกมาเพื่อเป็นการ์ดใช้สำหรับใช้งานเครือข่าย (LAN) และโมเด็ม (Modem) และประเภทที่สาม การ์ดจะมีความหนามากที่สุดถึง 10.5 มม. โดยมีจดประสงค์ในการประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้สำหรับ Rotating Mass Storage และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีขนาดเล็กๆ ข้อควรจำสำหรับขนาดของการ์ดเหล่านี้คือ การ์ดที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถใส่เข้าไปในช่อง (Socket) ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ แต่จะไม่สามารถใช้การ์ดที่มีขนาดใหญ่ใส่ในช่อง (Socket) ที่ออกแบบมาเป็นขนาดเล็กได้
สำหรับ การกำหนดทางกายภาพและทางไฟฟ้านั้น มาตรฐานของ PC Card มีการกำหนดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ให้มีความสามารถด้าน Plug and Play ด้วย การทำงานของ Socket จะเป็นการอินเตอร์เฟสในระดับ Bios Level ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมฮาร์ดแวร์ได้จากไดรเวอร์ของผู้ขาย การ์ดแต่ละรายได้ และสามารถรู้ได้ว่าเมื่อใดการ์ดถูกใส่เข้าไปใน Socket และเมื่อใดได้ถูกนำออกจาก Socket รวมถึงมีการจัดการทรัพยากร (Resource) ต่างๆ ของระบบด้วย เช่น การจัดอินเทอร์รัพ (Interrupt) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานการ์ดได้นั้น คุณสามารถใส่การ์ดเข้าไป หรือดึงการ์ดออกมาในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังใช้งานอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องปิดเครื่องหรือทำการบู๊ตเครื่องใหม่อีกครั้ง
PCMCIA และ JEIDA ต่างก็เป็นมาตรฐานของ PC Card ซึ่งจะเป็นการมุ่งเน้นให้มีการพัฒนามาตรฐานและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ PC Card นี้ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ PCMCIA และ JEIDA ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานของ PC Card อยู่หลายครั้ง ดังนี้
1) มาตรฐาน PCMCIA Release 1.0/JEIDA 4.0 (มิถุนายน 2533)
มาตรฐานแรกนี้ได้กำหนดอินเตอร์เฟสออกมาเป็นแบบ 68 pin และได้กำหนดรูปแบบ PC Card ออกมาสำหรับการ์ดหน่วยความจำเท่านั้น ซึ่งการ์นี้จะอยู่ในรูปของวงจรรวม (Integrated Circuit) ซึ่งมีจำนวนขาใช้งานอยู่ 68 pin และขาใช้งานภายในช่อง Socket นั้น ถูกกำหนดขึ้นมาครั้งแรกโดย JEIDA ในปี พ.ศ. 2528
มาตรฐานของ PCMCIA ในระยะเริ่มแรกนั้น ได้กำหนดมาตรฐานทางกายภาพและทางไฟฟ้าเอาไว้ด้วย โดยจะมีการระบุโครงสร้างทางข้อมูลของการ์ด (Card Information Structure CIS หรือที่เรียกว่า Metaformat) รวมถึงเทคโนโลยีแบบ Plug and Play ไว้ด้วย ในการกำหนดมาตรฐานครั้งแรกของ PC Card นี้ ยังไม่มีการกำหนดข้อมูลใดๆ ของการ์ดที่จะใช้งานกับอินพุทและเอาท์พุทของคอมพิวเตอร์
สำหรับของดีของ Metaformat คือทำให้ PC Card นี้สามารถรองรับการใช้งานได้มากขึ้น รวมถึงทำให้สามารถจัดโครงสร้างของข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยที่ Metaformat นี้อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่าลำดับชั้นทางกายภาพ (Physical Layer) และประกอบได้ด้วยชั้นของ Layer ย่อยต่างๆ ดังนี้
* Basic Compatibility Layer ซึ่งจะทำหน้าที่จัดหาข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับ PC Card รวมถึงจัดหาข้อมูลของอุปกรณ์ เช่น ขนาด ความเร็ว เป็นต้น
* Data Recording Layer ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัด Partition ของข้อมูล
* Data Organization Layer เป็นการจัดดครงสร้าง Partition ของข้อมูล
* System-Specific Layer ทำหน้าที่ตรวจสอบรูปแบบของข้อมูล
2) มาตรฐาน PCMCIA Release 2.0/JEIDA 4.1 (กันยายน 2534)
การประกาศมาตรฐานในครั้งที่สองนี้ ได้ระบุมาตรฐานการอินเตอร์เฟสแบบ 68 Pin เหมือนกันกับที่ใช้สำหรับ PCMCIA ในแบบการ์ดหน่วยความจำตามมตรฐานที่ประกาศออกมาในครั้งแรก การประกาศมาตรฐานในครั้งที่สองนี้ ได้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
* สนับสนุนการทำงานของการ์ดหน่วยความจำที่ทำงานในแบบ Dual Voltage
* เพิ่มส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของการ์ดให้สามารถทำงานได้ในสภาวะแวดล้อมต่างๆ รวมไปถึงทำการเพิ่มเติมในส่วนการตรวจสอบการทำงานของการ์ดด้วย
* เพิ่มเติมในส่วนของ XIP (eXecute In Place) ซึ่งเป็นวิธีการประมวลผลแอพพลิเคชั่นโดยตรงจาก ROM โดยจะไม่มีการโหลดข้อมูลของแอพพลิเคชั่นผ่านไปยัง RAM ซึ่งจะต่างจากวิธีประมวลผลตามปกติทั่วไป สำหรับข้อกหนดของ XIP นั้นจะกล่าวถึง Metaformat โครงสร้างของข้อมูล การอินเตอร์เฟสแบบ API และซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นที่จะมาใช้กับวิธี XIP
* เพิ่มมาตรฐาน Socket Service ซึ่งเป็นลำดับชั้นต่ำที่สุดของลำดับชั้นทั้งหมด โดยตัวมันมีหน้าที่ในการบริหารการใช้ทรัพยากร (Resource) ภายในตัว PC Card มันจะทำงานตามการควบคุมจากซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น ซึ่งอยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า
ในเวอร์ชั่นแรกของซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น API (Application Programming Interface) สามารถใช้งานได้ใน Release 2.0 นี้ โดยมีส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นของ Release นี้คือการทำให้โครงสร้างข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมในการสนันสนุนกรประมวลผลแบบ XIP ด้วย
3) มาตรฐาน PCMCIA Release 2.01 (พฤศจิกายน 2535)
PC Card แบบที่ 3 (Type III) ซึ่งถูกส้างขึ้นใน Release นี้ จะมีการเก็บข้อมูลแบบอัติโนมัติ โดยมีการผสมผสานข้อมูลแบบดิจิตอลเข้าไปด้วย ในเวอร์ขั่นนี้ซอฟต์แวร์ API จะมีจัดการระบบปฏิบัติการให้เหมาะสมสำหรับการจัดการด้านทรัพยากร (Resource) ของการ์ด การจัดการนี้จะปรับปรุงเพิามเติมในส่วนของ Socket Service, Driver, ข้อมูลที่จำเป็นในการอินเตอร์เฟส และเพิ่มในส่วนของ PC Card ATA ซึ่ง PC Card ATA นี้เป็นมาตรฐานที่กล่าวถึงการทำงานของ Mass Storage (Disk) โดยการใช้โปรโตคอลของ ANSI AT Attachment มาเป็นอินเตอร์เฟสให้กับ Disk Drive
สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นเหล่านี้จะจัดทำอยู่ในรูปข้อกำหนดแบบ Metaformat (CIS) ซึ่งจะเป็นฟังก์ชั่นอยู่ใน PC Card รุ่นใหม่ๆ
4) มาตรฐาน PCMCIA Release 2.1/JEIDA 4.2 (กรกฎาคม 2536)
ในมาตรฐาน Release นี้ ข้อกำนหดของซอฟต์แวร์ที่ใช้งานกับการ์ดและช่อง Socket ได้ถูกปรับปรุงขึ้นอีก โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากการติดตั้งที่ผ่านๆ มา จากข้อมูลโครงสร้างของซอฟต์แวร์ และจากข้อมูลที่กำหนดมาตรฐานอินเตอร์เฟสของ API
สำหรับข้อกำหนดทางกายภาพและทางไฟฟ้าของการ์ดนี้ ก็ถูกปรับปรุงเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการทำงานของการ์ดเวอร์ชั่นก่อนๆ ซึ่งมาตรฐานนี้ยังมีการเพิ่มเติมข้อกำหนดให้กับ CIS ด้วย
5) มาตรฐาน PC Card (กุมพาพันธ์ 2538)
มาตรฐานของ PC Card เวอร์ชั่นนี้ได้มีการเพิ่มเติมข้อมูลเข้าไป เพื่อเพิ่มความคอใแพตทิเบิลกับมาตรฐานของ CIS เพื่อจะสามารถใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และเพิ่มจำนวนของข้อมูลภายใน CIS เพิ่ม Guide lines เพื่อช่วยผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถจะใช้งานตามมาตรฐานได้ และมีการกำหนดรูปแบบของการเก็บข้อมูลร่วมไว้ด้วย
โดยสรุปแล้วมาตรฐานนี้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมขึ้นดังนี้
* สามารถทำงานได้ที่สภาวะแรงดันต่ำๆ เพียง 3.3 Volt
* เพิ่มเติมส่วนของฮาร์ดแวร์ Direct Memory Access (DMA)
* เพิ่มเติมให้การ์ดสามารถทำฟังก์ชั่นได้มากขึ้น
* ปรับปรุงมาตรฐานการจัดการด้านอินเตอร์เฟส (APM)
* มีความสามารถด้านการอินเตอร์เฟส 32 bit bus (Card bus) ซึ่งมี Throughput ที่สูงมาก
Express Card คืออะไร
ExpressCards เป็นมาตรฐานใหม่ที่กำหนดขึ้นมาโดยนักพัฒนา PC Card โดยตั้งใจจะให้มันเป็นมาตรฐานที่ใช้แทน PC Cards นั่นเอง ซึ่ง ExpressCards จะมีความสามารถที่เหนือกว่า PC Cards มากมาย แต่ข่าวร้ายข่าวแรกที่ควรทราบก็คือ PC Card ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะไม่สามารถทำงานร่วมกับสล๊อต ExpressCards ได้
ExpressCards จะมี 2 ชนิดด้วยกัน โดย ExpressCard/34 จะมีความกว้างครึ่งหนึ่งของ PC Card ส่วน ExpressCard/54 จะกว้างเท่ากับ PC Card ปกติ แต่มีรูปร่างเหมือนตัว L โดย ExpressCard/34 จะสามารถทำงานร่วมกับสล๊อต ExpressCard/54 ได้ สังเกตด้านในสล๊อต ExpressCards จะมีขอบทะแยงมุมเอาไว้ป้องกันไม่ให้ใส่ PC Card เข้าไปได้นั่นเอง
คราวนี้มาดูเรื่องความต่างในแง่ของความสามารถที่จะได้รับจาก ExpressCards กันบ้างดีกว่า โดยพื้นฐานแล้ว PC Cards จะเหมือนกับการมีสล๊อตสำหรับใส่ PCI Cards บนโน๊ตบุ๊ก ฟังแค่นี้ก็คงพอจะเดาออกแล้วใช่ไหมครับว่า ExpressCards แท้จริงก็คือ PCI Express สำหรับโน้ตบุ๊กนั่นเอง ซึ่งทั้ง PCI และ PCI Express ต่างก็เป็นระบบบัสของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายข้อมูล ในเครื่องนั่นเอง แน่นอนว่า ระบบใหม่ย่อมเก่งกว่า
นอกจากจากนี้ มาตรฐาน ExpressCard ยังสามารถสื่อสารกับระบบบัส USB 2.0 บนเมนบอร์ดได้อีกด้วย ExpressCards จะมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 2.5 กิกะบิทต่อวินาที เมื่อใช้กับบัส USB 2.0 จะสามารถทำงานที่ความเร็วสูงสุด 480 เมกกะบิตต่อวินาที เปรียบเทียบกับ PC Cards จะได้แค่ 13 MB/s เท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า มันแตกต่างกันมาก โดยความเร็วที่มากขึ้นย่อมหมายถึง ผู้ใช้จะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความสามารถในการทำงานสูงขึ้นได้ ซึ่งแน่นอนว่า เราจะได้ใช้ประสิทธิภาพจากอุปกรณ์พวกนี้ได้อย่างเต็มที่ และประเด็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้โน้ตบุ๊กอีกประการหนึ่งก็คือ ExpressCards ใช้พลังงานน้อยกว่า PC Cards นอกจากนี้ มาตรฐาน ExpressCard ที่ใช้บนเดสก์ทอปก็มีออกมาแล้ว ผู้ใช้จะสามารถแชร์การ์ดระหว่างเครื่องเดสก์ทอปด้วยกัน หรือกับโน้ตบุ๊กได้นั่นเอง
PC Card/PCMCIA, Express Card หน้าตาเป็นอย่างไร
- รูปบน เป็น Express Card ชนิด 34 มม.
- รูปถัดมาเป็น Express Card ชนิด 54 มม.
- รูปสุดท้ายเป็น PCMCIA/PC Card
จาก wikipedia
แหล่งข้อมูล : http://www.thesystem.co.th
0 comments:
แสดงความคิดเห็น