4.02.2554

The Sandy Bridge: Intel Core i7-2600K & Core i5-2500K Tested


นับตั้งแต่วันที่อินเทลได้เปิดตัว Core Microarctecture จนถึงทุกวันนี้ ก็เรียกได้ว่า Sandy Bridge นั้นถือได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมในยุคที่สอง ของอินเทล Core i series ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ที่สำคัญมากที่สุดก็คือ จะเริ่มมีการพอร์ตซีพียูทั้ง i3 i5 i7 ลงมาเป็นซอกเก็ต 1155 ทั้งหมด ผิดกับที่ในยุคที่ Core i ออกมาใหม่ๆในตอนนั้นยังคงมี 1366 สำหรับ Core i7 รุ่นแรกๆ และ 1156 สำหรับรุ่นเล็ก
Intel Sandy Bridge นั้นถือเป็นการพัฒนาสถาปัตยกรรมในจังหวะ Tock ซึ่งจะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ถือกำเหนิด Core Microarchiture โดย Sandy Bridge นั้นจะยังคงใช้การผลิตในขนาด 32 นาโนเมตร ตามสเต็ปเดิมๆ (ให้สังเกตดูรูปครับ)


เพื่อให้เกิดการเห็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย ผมจึงจะขอยกเอา Line up ของซีพียูในแต่ละรุ่น ในแพลตฟอร์มของ Sandy Bridge มาให้ได้ชมกันแบบจะๆ ชัดๆกันไปก่อนเป็นอันดับแรกเลยครับสำหรับ Core i ในเจเนอร์เรชั่นใหม่ หรือ Sandy Bridge นี้นั้น ก็ง่ายๆครับไม่มีอะไรยากตามตาราง คือเรื่องของการเรียกชื่อ ที่จังยังมีการใช้ชื่อ Core i3/5/7 โดยจะเพิ่มชื่อเลข 2 เข้ามา เป็นการสื่อว่า Generation ที่สอง และในส่วนของ Suffix ที่นอกจากจะทีรหัส K ที่เราๆท่านๆคุ้นเคยกันดีกับซีพียูที่มีการ Unlock หรือ ปลดล็อคตัวคูณมาแล้ว ยังจะมีรหัส S ที่เป็นรุ่นประหยัดไฟ และรุ่น T ประหยัดไฟพิเศษ (TDP 35watt)
แพลตฟอร์มใหม่จากอินเทลนั้น สำหรับซอกเก็ตใหม่ 1155 มาพร้อมกับชิปเซ็ตอินเทลตระกูล 6 ที่เรากำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่อินเทล นำเอา Northbridge เข้าไปรวมในซีพียูอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะแพลตฟอร์ม Intel 6 series นั้นจะเป็นแพลตฟอร์มชิปเดี่ยวโดยสมบูรณ์ โดยในรูปด้านบนจะเป็น Block Diagram ของบอร์ดที่ใช้ชิป P67 ก็จะแสดงให้เห็นชัดเจนครับว่าชิปเซ็ต P67 นั้นจะมีหน้าที่เพียงแค่ควบคุมการทำงานของระบบบัสสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆเช่นฮาร์ดไดร์ฟและ PCI E ในส่วนที่เป็น expansion slot จริงๆ ที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นเมมโมรี หรือ PCIE 2.0 สำหรับกราฟฟิคการ์ด ตัวซีพียูก็จะเป็นตัวจัดการเองทั้งหมด
และสำหรับการใช้งานกราฟฟิคแบบ Integrated Intel HD Graphics ใน Sandy Bridge นั้น อินเทลก็ยังคงให้ใช้ชื่อรหัส “H” สำหรับชิปเซ็ตที่จะนำมาทำงานร่วมกับกราฟฟิคแบบอินติเกรตในตัวซีพียู แทนที่จะเป็น P67 แบบในภาพกล่าวคือบอร์ด H67 นั้นก็จะมีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อจอ อย่าง VGA หรือ Digital HDMI / DVI มาให้ในตัวเมนบอร์ดด้วยเลยนั้นเองครับ
Intel Ring Bus
การเปลี่ยนแปลงจุดหนึ่งของ Sandy Bridge นั้นก็คือ การที่ Sandy Bridge นั้่นมีการรวมเอาตัวประมวลผลกราฟฟิค เข้ามารวมในชุด DIE เดียวกันของตัวซีพียู ดังนั้น และโครงสร้างของ Memory Controller แบบใหม่ รวมไปถึง Level 3 cache ที่ทำงานโดยขึ้นตรงกับตัวซีพียู จึงทำให้ใน Sandy Bridge นั้น จะไม่มี Uncore Clock อีกต่อไป L3 cache นั้นจะทำงานโดยขึ้นกับซีพียูทั้ง 4 คอร์โดยตรง และตรงนี้จะสังเกตจากรูปได้ว่า Ring bus นั้นก็คือ การเชื่อมต่อความเร็วสูงภายในตัว Core DIE ที่จะเชื่อมเอา LLC (Last Cache Level) เข้ากับองค์ประกอบทั้งหมดของระบบอย่างเป็นเอกภาพกลมกลืน ตั้งแต่ซีพียูทั้งสี่คอร์ กราฟฟิค และชุดควบคุมระบบ (บัสความเร็วสูงภายนอกซีพียู เช่น PCIE)
นั้นหมายถึง LLC ในตัวชิปชุดนี้นั้น จะทำงานด้วยความเร็ว(ความถี่) เท่าเทียมกับตัว CPU Core ทำให้ความเร็วในการทำงานและเข้าถึงข้อมูลนั้นเร็วกว่าการเชื่อมต่อ L3 Cache ในสถาปัตยกรรม Nehalem แบบเดิม ซึ่งจำเป็นต้องใช้กลุ่มของสายตัวนำขนาดเล็กๆในแกนกลางมากมายเพื่อเชื่อมต่อ LLC กล่าวคือ องค์ประกอบทั้งหลาย บน DIE ชุดนี้ ไล่ตั้งแต่ CPU Core ทั้งสี่แกน ตัวประมวลผลกราฟฟิค และส่วนเชื่อมต่อบัสความเร็วสูงอื่นๆ (ชิป North-Bridge เก่าที่ถูกรวมไว้ในตัวซีพียู) จะสามารถเข้ามาดึงข้อมูลไปจาก Level 3 Cache ได้อย่างรวดเร็ว โดยตรงนี้ ทางอินเทลได้ระบุไว้ว่า Ring Bus นั้นจะเลือกเอา path ที่สั้นที่สุดในการติดต่อหาข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเราก็ต้องมาดูจากผลการทดสอบกันครับว่าการปรับปรุงทั้งหลายทั้งปวงนี้ จะทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพมากเพียงใดโดยใน Sandy Bridge นี้ ตัวซีพียู นั้นจะมีการฝังรวมเอา Memory Controller ชนิด Dual Channel DDR3-1333MHZ เช่นเดิมครับ
เราได้เห็นพัฒนาการของเทคโนโลยี “Turbo boost” ตั้งแต่ครั้งที่ Core i7 ซีรียส์ 9 ในซอกเก็ต 1366 เปิดตัวมา ครั้งนั้นผมจำได้ว่ามันเป็นอะไรที่ธรรมดาๆมากครับ แค่เวลาที่มีโหลดไม่ครบจำนวนหัวซีพียู ตัวคูณจะปรับเพิ่มขึ้นให้แค่ 1x และผมก็ได้เห็นพัฒนาการอีกในซีพียู Core i5 ทั้งตัว 1156 และเวอร์ชั่นโมบาย ที่เพิ่มความเร็ว Turbo ให้สูงขึ้นจนน่าตกใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเพิ่มความเร็วซีพียูใน Core i รุ่นก่อนหน้านี้นั้น จะเป็นการเพิ่มความเร็วที่อิงมาจากค่า TDP (Thermal Design Power)
แต่ใน Sandy Bridge นั้น การเพิ่มความเร็ว Turbo boost นั้นจะสามารถทำการเพิ่มความเร็วได้ถึง 4 เสต็ป (ซึ่งก็ดูเหมือนไม่มีอะไรแปลกใหม่) หากสงสัยว่า 4 step เป็นอย่างไร ก็ลองสังเกตดูที่รูปด้านบนเอาครับ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น การเพิ่มความเร็วซีพียูจาก Turbo boost นั้นจะไม่ใช่การอิงจากความสามารถจาก TDP อีกต่อไป แต่จะเป็นการอิงจากความ อุณหภูมิ แทน กล่าวคือ หากอากาศเย็นๆ ระบบระบายความร้อนดีดี ซีพียู Sandy Bridge ก็อาจจะสามารถทำงานได้ที่ความเร็วที่สูงกว่าค่า TDP ที่โรงงานกำหนดมาให้ได้นั้นเอง ซึ่งข้อมูลตรงนี้ ก็กำลังรอการพิสูจน์ จากบททดสอบกันต่อไปครับในด้านของความสามารถของ Intel HD Graphics ภายในตัวซีพียูนั้น ก็ได้มีการปรับปรุงความสามารถเพิ่มขึ้นในหลายๆด้าน ตั้งแต่การรองรับ DIrect X 10.1 , SM4.1 รวมไปถึงความสามารถในการปรับความเร็ว (Dynamic Frequency Scaling) และที่สำคัญคือเทคโนโลยี Turbo boost นั้น ได้ถูกนำมาประยุคใช้ กับตัว Intel HD Graphics ภายในซีพียูตัวนี้แล้วด้วยครับ โดยตัว Intel HD Graphics จะมี 2รุ่นคือ Intel HD Graphics 2000 สำหรับซีพียูรุ่นที่ใช้รหัสลงท้ายว่า S ,T และรุ่นที่ไม่มีรหัสตัวอักษรต่อท้าย และ Intel HD Graphics 3000 สำหรับซีพียูรุ่นที่ใช้รหัสลงท้ายว่า K ซึ่งถือเป็นรุ่นสูงสุดของซีพียูซีรีย์นี้ครับ

The Sandy Bridge Review: Intel Core i7-2600K and Core i5-2500K Tested


0 comments:

แสดงความคิดเห็น

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More